" ประวัติศาสตร์ นอกตําราแปลก..ที่อินโดนีเซียมีหลายศาสนาแต่เป็นเอกภาพหนึ่งเดียวIประวั แปลก..ที่อินโดนีเซียมีหลายศาสนา แต่เป็นเอกภาพหนึ่งเดียว I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP. 245 "







จากเหตุการณ์ ร.ศ.112 เมื่อฝรั่งเศสนำเรือรบ 3 ลำ เข้าปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2436 ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศสตาม หนังสือสัญญากรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส วันที่ 3 ตุลาคม ร.ศ.112 จากหนังสือสัญญาดังกล่าว ทำให้เมืองเชียงคานที่เคยปกครองชุมชนสองฝั่งโขงถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ฟากตะวันออก หรือฝั่งซ้ายขึ้นกับฝรั่งเศส และฝั่งขวาทางฟากตะวันตก ซึ่งเป็นศูนย์กลางเมืองในขณะนั้น ยังคงอยู่ในเขตปกครองของสยาม หลังเสียพื้นที่เมืองเชียงคานทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศสแล้ว ฝรั่งเศสพยายามเกลี้ยกล่อมให้พระศรีอรรคฮาต ทองดี เจ้าเมืองเชียงคาน นำราษฎรให้ข้ามโขงมาอยู่ในความปกครองของฝรั่งเศส แต่กลับได้รับการปฏิเสธ ฝรั่งเศสจึงพยายามหาเรื่องใส่ร้ายพระศรีอรรคฮาต ทองดี และขุนนางกรมการเมืองเชียงคาน ด้วยการส่งเอกสารร้องเรียนกล่าวโทษไปยังราชสำนักกรุงเทพ ฯ อย่างต่อเนื่อง แต่ราชสำนักกรุงเทพ ฯ ยังเชื่อมั่นในความจงรักภักดีของพระศรีอรรคฮาต ทองดี และครอบครัว แม้ฝรั่งเศสจะได้ดินแดนลาวทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงไปแล้ว แต่ต่อมาในปี พ.ศ.2445 ฝรั่งเศสสืบทราบว่า แท้จริงแล้วอิทธิพลของราชสำนักเมืองหลวงพระบางเดิมนั้นมีอำนาจอยู่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง โดยฝั่งขวากินมาจนถึงเขตเมืองน่าน โดยอ้างว่าพระมหากษัตริย์เมืองหลวงพระบางเคยปกครองบริเวณนั้นมาก่อน จึงต้องการกำหนดเขตแดนเมืองหลวงพระบางเสียใหม่ จนนำมาสู่การทำอนุสัญญาฉบับใหม่ ร.ศ.121 ในปี พ.ศ. 2445 โดยสยามต้องยอมยกพื้นที่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ระหว่างเขตเมืองหลวงพระบาง กับเมืองพิชัยลงมาจนถึงแม่น้ำเหืองให้อยู่ภายใต้กับปกครองของฝรั่งเศส ราษฎรเมืองเชียงคานส่วนหนึ่งที่ยังตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณปากน้ำเหืองทางฝั่งขวา ซึ่งไม่ต้องการอยู่ภายใต้บังคับของฝรั่งเศสได้พากันอพยพย้ายครัวเรือนมาที่บ้านท่านาจันทน์ ที่ตั้งอำเภอเชียงคานปัจจุบัน ขณะที่มีราษฎรอีกบางส่วนเลือกข้ามมาอาศัยอยู่บริเวณที่ราบตามหุบเขาทางฝั่งขวาของแม่น้ำเหือง จนพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ภายหลังจากการทำอนุสัญญา ฯ ร.ศ.121 ฝรั่งเศสยังคงพยายามที่จะเข้ามาสร้างอิทธิพลในเขตเมืองเชียงคาน โดยการทำสัญญาขอเช่าที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในการเดินเรือช่วงต้นปี พ.ศ.2450 อนุสัญญานี้มีชื่อว่า อนุสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ว่าด้วยอนุญาตที่ดินริมฝั่งขวาแม่น้ำโขง ตามความในสัญญา 13 กุมภาพันธ์ ร.ศ.122 จนกระทั่งฝรั่งเศสได้ถอนตัวออกจากลาวแล้ว และมีการแก้ไขสนธิสัญญาต่าง ๆ พื้นที่ที่เช่าในเชียงคานก็กลายเป็นพื้นที่ว่างเปล่า รัฐบาลสยามจึงใช้เป็นที่ตั้งศูนย์ราชการต่อมาจนถึงปัจจุบัน พระศรีอรรคฮาต ทองดี ปกครองเชียงคานเรื่อยมา จนกระทั่งปี พ.ศ.2442 จึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น พระยาศรีอรรคฮาต ซึ่งดูเหมือนจะเป็นกรณีพิเศษ เพราะปกติแล้วตำแหน่งเจ้าเมืองบริวารที่ขึ้นกับหัวเมืองใหญ่ เจ้าเมืองมักจะมีบรรดาศักดิ์เป็นเพียง พระ ขณะที่เจ้าเมืองหัวเมืองชั้นตรี และหัวเมืองชั้นโทจึงจะมีบรรดาศักดิ์ชั้น พระยา การเลื่อนบรรดาศักดิ์คราวนั้นจึงนับเป็นเกียรติคุณอย่างสูงสุดที่พระยาศรีอรรคฮาต ทองดี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก ร. 5 ต่อมาในปี พ.ศ.2450 กระทรวงมหาดไทยได้มีการประกาศรวมหัวเมืองในมณฑลอุดรเข้าเป็นเมืองจัตวา เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2450 ดังปรากฏในราชกิจานุเบกษาว่าหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งรวมเรียกแต่เดิมว่าบริเวณน้ำเหืองนั้น ให้เปลี่ยนเรียกว่า เมืองเลย มีสถานะเป็นจังหวัดขึ้นกับมณฑลอุดร เมืองเชียงคานซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองเลยเป็นอีกเมืองหนึ่งที่กระทรวงมหาดไทยมีความต้องการจะโอนย้ายการปกครองจากมณฑลพิษณุโลกมาขึ้นกับมณฑลอุดร แต่ได้รั้งรอมาโดยตลอด ด้วยความเกรงใจพระยาศรีอรรคฮาต ทองดี ผู้ที่มีความซื่อตรงและจงรักภักดี มีความชอบต่อราชสำนักกรุงเทพฯ มาแต่เก่าก่อน อีกทั้งที่ผ่านมา ในการจัดการมณฑลเทศาภิบาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งกำชับเป็นการเฉพาะว่า ...พระยาศรีอรรคฮาดคนนี้เปนคนซื่อตรง การบ้านเมืองอย่างไรที่จัด ขออย่าให้เปนความเดือดร้อนแก่พระยาศรีอรรคฮาด เปนดังนี้ตลอดมา... อย่างไรก็ตาม หลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2453 พระยาศรีอรรคฮาต ทองดี เองก็ชราภาพลงมาก การปกครองต่าง ๆ จึงตกอยู่ในมือของบุตรหลาน กระทรวงมหาดไทยเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่จะจัดการปกครองเมืองเชียงคานเสียใหม่ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการ มีการย้ายเมืองเชียงคานมาขึ้นกับจังหวัดเมืองเลยใน พ.ศ.2454 ทำให้เมืองเชียงคานถูกลดฐานะจาก เมืองเชียงคาน ลงเป็น อำเภอเมืองเชียงคาน ส่วนพระยาศรีอรรคฮาต ทองดี ผู้ว่าราชการเมืองเชียงคาน ก็เปลี่ยนตำแหน่งเป็น ผู้ว่าราชการอำเภอเมืองเชียงคาน ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับนายอำเภอในปัจจุบัน แม้ก่อนหน้านี้จะได้รับพระราชทานสัญญาบัตรให้เป็นเจ้าเมืองมาก่อนก็ตาม ประวัติศาสตร์อีกหน้าจึงได้บันทึกไว้ว่า พระยาศรีอรรคฮาต ทองดี เป็นทั้งผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงคานคนสุดท้าย และเป็นนายอำเภอคนแรกของเชียงคาน พระยาศรีอรรคฮาต ทองดี ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการอำเภอเมืองเชียงคานได้ 2 ปีก็ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2456 สิริรวมอายุ 70 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานหีบเพลิงมาพระราชทานเพลิงศพพระยาศรีอรรคฮาต ทองดี เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2456 ในการนี้ยังได้พระราชทานเงิน 1,000 สตางค์ และผ้าขาว 2 พับ มาพร้อมหีบเพลิงด้วย เป็นการปิดฉากเรื่องราวของเมืองเชียงคานที่ได้ดำเนินมาอย่างยาวนานจากความเป็นเมืองในระบบรัฐจารีต จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงเข้าสู่รัฐสมัยใหม่ลงอย่างสมบูรณ์


More clips >>

Add YouTube Rank in search & views of your clips..

😀 ประวัติศาสตร์ นอกตํารา

⭐️ ประวัติศาสตร์ นอกตํารา ⭐️

📈 : 1000 views



-- Last updated 07/10/2024 21:46 --
อัพเดต ประวัติศาสตร์ นอกตํารา แล้ว
ประวัติศาสตร์ นอกตํารา @ Youtube


แปลก..ที่อินโดนีเซียมีหลายศาสน ดานังประตูสู่ประวัติศาสตร์เวี ตองจีတွင်ႇၵျီးเมืองเเห่งขุน เที่ยวนอกตำราตะลุยป่ามเหนทรบ ทวารวดีอาณาจักรแรกเริ่มบนแผ่น ไปสำรวจสีมาอีสานบนเส้นทางทวาร มรดกโลกภูพระบาทตามรอยวัฒนธรรม ตามหาเสียมกุกบนกำแพงปราสาทนค สลากภัตบุญนี้มีอะไรIประวัต แกะรอยเชียงแสน-เมืองต้นผึ้งส พระราชวังเว้อันยิ่งใหญ่..เปิดส เจ้าชายพระชีวิตเกิดใหม่ตายซ้ ชีวิตเร่ร่อนของเจ้าชายไร้แผ่น “กระดูกสันหลังร.5”ชีวิตจริงย เชียงคานใต้เงาฝรั่งเศสEP.





Add YouTube Rank in search & views of your clips..

|| ⭐️ ติดอันดับ TOP HITS ⭐️ คลิปใหม่ NEW ARRIVAL ⭐️ คลิปเพิ่งเข้ามา NEW UPCOMING ||

:: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 ▶️ 




고혹적이고 섹시한 그 누나들 수(SUE) 이야기 Bright Future: Filmmaker provides educational tool and shelter support for mother and her children Inside Pennsylvania’s Immigrant Invasion… I NEVER Knew you Could make a FLUKE do THIS! (UPDATE)








2024 World of flash-mini.com : About us

The content on this page is generated and generated by social media content automatically. If you encounter a problem or want to delete the information Please inform at this email >> [email protected]

This website uses cookies or similar technologies, to enhance your browsing experience and provide personalized recommendations. By continuing to use our website, you agree to our Privacy Policy & Terms

We relies on APIs,All logos and trademarks displayed on this application are property of their. None of the content is hosted on our servers, only on theier servers and all rights owned by their respective owners.



Contacts Office Address: 125/8 Sukhumvit Road, Phra Khanong Subdistrict, Bang Na District, Bangkok 10120 | Contacts Telephone : 082 6918082 | Contacts email : [email protected]