ประวัติและข้อมูลของจังหวัดกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพฯ หรือ บางกอก เมืองหลวงของประเทศไทย เริ่มก่อตั้งภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงครอง ราชย์ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ เมื่อวันเสาร์ ที่ ๖ เมษายน เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๒๕ พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังทางคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยาฟากตะวันออก เนื่องจากเป็นชัยภูมิที่ดีกว่ากรุงธนบุรีเพราะมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็น แนวคูเมืองทางด้านตะวันตก และด้านใต้
อาณาเขตของกรุงเทพฯ ในขั้นแรกถือเอาแนวคูเมืองเดิมฝั่งตะวันออกของกรุงธนบุรี คือ แนวคลองหลอด ตั้งแต่ปากคลองตลาดจนออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปิ่นเกล้า เป็นบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ มีพื้นที่ประมาณ ๑.๘ ตารางกิโลเมตร
บริเวณ ที่สร้างพระราชวังนั้นเดิมเป็นที่อยู่อาศัยของพระยาราชเศรษฐี และชาวจีน ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปอยู่ที่สำเพ็ง ในการก่อสร้างพระราชวังโปรดเกล้าฯ ให้พระยาธรรมาธิบดี กับพระยาวิจิตรนาวีเป็นแม่กองคุมการก่อสร้าง ได้ตั้งพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว ๕๔ นาที (๒๑ เมษายน ๒๓๒๕) พระราชวังแล้วเสร็จ เมื่อพ.ศ. ๒๓๒๘ จึงได้จัดให้มีพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบแผน รวมทั้งงานฉลองพระนคร โดยพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยน คำว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์” และในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีได้รวมจังหวัด ธนบุรีเข้าไว้ด้วยกันกับกรุงเทพฯ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “กรุงเทพมหานคร” เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดนนทบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสมุทรปราการ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดนครปฐม
สิ่งที่น่าสนใจในกรุงเทพมหานคร
กิจกรรม
| การกีฬาแห่งประเทศไทย ศูนย์กีฬาหัวหมาก (สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน) | ซาฟารีเวิลด์ | นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจ หลุยส์เธียเตอร์) | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) | สนามกอล์ฟกรุงเทพกรีฑา | สนามกอล์ฟดุสิต | สนามกอล์ฟทหารบก | สนามกอล์ฟทหารอากาศกานตรัตน์ | สนามกอล์ฟนวธานี | สนามกอล์ฟปัญญาอินทรา | สนามกอล์ฟยูนิโก้ | สนามกอล์ฟราชกรีฑาสโมสร | สนามกอล์ฟราชนาวี | สนามกีฬาแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย) | สนามมวยเวทีราชดำเนิน | สนามมวยเวทีลุมพินี | สนามแข่งม้าราชกรีฑาสโมสร | สนามแข่งม้าราชตฤณมัยสมาค | สยาม โอเชี่ยน เวิลด์ | สยามนิรมิต | สวนสยาม | สวนสัตว์ดุสิต (เขาดินวนา) | หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ | เดอะ เลกาซี่ กอล์ฟ | โรงละครเฉลิมกรุง รอยัล เธียเตอร์ | โรงละครแห่งชาติ |
งานเทศกาล
| วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น | เทศกาลงานประเพณี |
ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
| กลุ่มศิลปะประดิษฐ์จากไม้ | กำแพงเพชรหัตถกรรมหินอ่อน | ผลิตภัณฑ์จากแป้งบ้านครูดรุณ | ศูนย์จำหน่ายสินค้า OTOP | ศูนย์บริรักษ์ไทย | ศูนย์ผลิตภัณฑ์และการท่องเที่ยวนครชากังราว | ศูนย์ส่งเสริมหัตถกรรมเครื่องเงินชาวเขา | หัตถกรรมหินอ่อนบ้านพราน |
|
การคมนาคมรถยนต์ ไปตามถนนเพชรเกษมหรือถนนบรมราชชนนี ผ่านนครชัยศรี นครปฐม บ้านโป่ง ท่ามะกา ท่าม่วง ถึงจังหวัดกาญจนบุรี รวมระยะทาง ๑๒๙ กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง ทางบก มีรถประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถร่วมบริการ วิ่งบริการในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ให้บริการตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐-๒๓.๐๐ น. และในบางสายเปิดบริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีรถรับจ้างอื่นๆ บริการอีกด้วย ติดต่อสอบถามเส้นทางการเดินทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้ที่ โทร. ๑๘๔ นอกจากนี้ยังมีรถไฟฟ้าบีทีเอสให้บริการเส้นทางถนนพหลโยธิน (เริ่มจากสถานีจัตุจักร) ถนนสุขุมวิท ถนนสีลม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสโทร. ๐ ๒๖๑๗ ๗๓๔๐, ๐ ๒๖๑๗ ๗๓๐๐ หรือ www.bts.co.th และมีรถไฟฟ้าใต้ดินให้บริการเส้นทางสถานีรถใต้ดิน จากสถานีบางซื่อ ผ่านลาดพร้าว ถนนรัชดาภิเษก สามย่านสิ้นสุดที่สถานีรถไฟหัวลำโพง ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐–๒๔.๐๐ น. สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. ๐ ๒๓๕๔ ๒๐๐๐ หรือ www.bangkokmetro.co.th ทางน้ำ มีบริการเรือโดยสารข้ามฟากบริเวณท่าช้าง ท่าพระจันทร์ ท่าเตียน ท่าเทเวศร์ ท่าคลองสาน ท่าสี่พระยา ฯลฯ และบริการเรือด่วนเจ้าพระยาไปจังหวัดนนทบุรีทุกวัน ตั้งแต่เวลาประมาณ ๐๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา โทร. ๐ ๒๒๒๕ ๓๐๐๓, ๐ ๒๖๒๓ ๖๐๐๑-๓, ๐ ๒๒๒๒ ๕๓๓๐ www.chaophrayaboat.co.th นอกจากนี้ยังมีเรือหางยาววิ่งไปตามคลองแสนแสบ คลองบางกอกน้อย และวิ่งไปตามคลองต่าง ๆ เป็นต้น รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการเดินรถไฟไปตามสถานีรถไฟชานเมืองภายในเขตกรุงเทพฯ ได้แก่ สายเหนือ และสายอีสาน วิ่งไปถึงสถานีรถไฟดอนเมือง สายตะวันออก วิ่งไปถึงสถานีรถไฟหัวตะเข้ และสายใต้ วิ่งไปถึงสถานีรถไฟตลิ่งชัน ติดต่อสอบถามตารางเวลา และรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน่วยบริการเดินทางสถานีรถไฟ หัวลำโพง โทร. ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๑๐, ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๒๐ และ ๑๖๙๐ หรือ HYPERLINK "http://www.railway.co.th" www.railway.co.th |