ประวัติและข้อมูลของจังหวัดนนทบุรี


พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา วัดเก่านามระบือ เลื่องลือทุเรียนนนท์ งามน่ายลศูนย์ราชการ
จังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ในภาคกลางเป็นจังหวัดหนึ่งใน ๕ จังหวัดปริมณฑล คือ นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาครและปทุมธานี มีเนื้อที่ประมาณ ๖๒๒.๓๐๓ ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งพื้นที่ของจังหวัดออกเป็น ๒ ส่วน เขตการปกครองแบ่งออกเป็น อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทองและอำเภอไทรน้อย เมืองนนทบุรีมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า ๔๐๐ ปี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีคูคลองน้อยใหญ่มากมาย เป็นเมืองเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตลาดขวัญ ซึ่งเป็นสวนผลไม้ที่ขึ้นชื่อในสมัยนั้น ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองนนทบุรีเมื่อพ.ศ. ๒๐๙๒ ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ บ้านตลาดขวัญเป็นดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์และเป็นสวนผลไม้ที่มีชื่อแห่ง หนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ฝรั่งต่างชาติที่ได้เดินทางเข้ามาค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรี อยุธยาต่างก็ได้บันทึกเอาไว้ ดังปรากฏในจดหมายเหตุบันทึกการเดินทางของลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศสผู้ซึ่งเดินทางเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่า “สวนผลไม้ที่บางกอกนั้น (หมายถึงกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน) มีอาณาบริเวณยาวไปตามชายฝั่ง โดยทวนขึ้นสู่เมืองสยามถึง ๔ ลี้ กระทั่งจรดตลาดขวัญ (TALACOUN) ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลาหาร ซึ่งคนพื้นเมืองชอบบริโภคกันนักหนา” (จดหมายเหตุลาลูแบร์) ปี พ.ศ. ๒๑๗๙ พระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองลัดตอนใต้วัดท้ายเมืองไปทะลุวัดเขมา เพราะเดิมนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาไหลวกเข้าแม่น้ำอ้อมมาทางบางใหญ่วกเข้าคลองบาง กรวยข้างวัดชลอ มาออกหน้าวัดเขมา เมื่อขุดคลองลัดแล้ว แม่น้ำก็เปลี่ยนทางเดินไหลเข้าคลองลัดที่ขุดใหม่ กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ดังปัจจุบันนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๘ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเห็นว่า แม่น้ำเปลี่ยนทางเดินใหม่นั้น ทำให้ข้าศึกประชิดพระนครได้ง่าย จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมปราการตรงปากแม่น้ำอ้อม และโปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองนนทบุรีมาอยู่ปากแม่น้ำอ้อมด้วย ดังมีศาลหลักเมืองปรากฏอยู่ นอกจากป้อมที่ปากแม่น้ำอ้อมแล้วเข้าใจว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาคงจะได้มีการ สร้างป้อมไม้เอาไว้ที่บริเวณวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน เพราะปรากฏหลักฐานจากจดหมายเหตุรายวันของบาทหลวง เดอ ชัวซีย์ ผู้ซึ่งเดินทางร่วมมากับคณะราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อ พ.ศ.๒๒๒๘ ว่า “เช้าวันนี้เราผ่านป้อมที่ทำด้วยไม้ ๒ ป้อม ป้อมหนึ่ง ยิงปืนเป็นการคำนับ ๑๐ นัด อีกป้อมหนึ่ง ๘ นัด ที่มีแต่ปืนครกเท่านั้น ดินปืนดีมากทีเดียว ป้อมทางขวามือเรียกป้อมแก้ว และป้อมทางซ้ายมือเรียกป้อมทับทิม ณ ที่นี้เจ้าเมืองบางกอกก็กล่าวคำอำลาและอ้างเหตุว่าได้ควบคุมเรือขบวนมาส่งจน สุดแดนที่อยู่ในความปกครองของเมืองบางกอกแล้ว แล้วก็ลาท่านราชทูตกลับไป
และในปี พ.ศ.๒๒๓๐ เมื่อลาลูแบร์เป็นราชทูตเข้ามากรุงศรีอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงป้อมไม้แห่งนี้ไว้ด้วย โดยที่เขียนเป็นแผนที่เอาไว้อย่างชัดเจนตามหลักฐานดังกล่าว จึงเข้าใจว่าป้อมแก้วคงตั้งอยู่ ณ บริเวณตลาดแก้ว ส่วนป้อมทับทิมเข้าใจว่าคงตั้งอยู่ ณ บริเวณหน้าวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองนนทบุรีไปตั้งที่ปากคลองบางซื่อบ้านตลาดขวัญ และในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศาลากลางเมืองขึ้นที่ปากคลองบางซื่อ ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๑ รัชกาลที่ ๗ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางมาตั้งที่ราชวิทยาลัย บ้านบางขวาง ตำบลบางตะนาวศรี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกองฝึกอบรมกระทรวงมหาดไทยตั้งอยู่บนถนนประชาราษฎร์ สาย ๑ อำเภอเมือง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรปตามอาคารประดับด้วยไม้ฉลุ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กรมศิลปากรได้ขึ้นบัญชีเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่ง และในปัจจุบันศาลากลางจังหวัดนนทบุรีได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนน รัตนาธิเบศร์



อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับปทุมธานีและพระนครศรีอยุธยา
ทิศใต้ ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับกรุงเทพมหานครและปทุมธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับนครปฐม


สถานที่ท่องเที่ยวในนนทบุรี


อำเภอบางกรวย


| วัดกระโจมทอง | วัดชลอ | วัดบางขนุน | วัดบางอ้อยช้าง | วัดสักน้อย | วัดเพลง | วัดแก้วฟ้า | วัดโพธิ์บางโอ |

อำเภอบางใหญ่


| ถนนสายดอกไม้ | วัดต้นเชือก | วัดท่าบันเทิงธรรม | วัดพระนอน | วัดพระเงิน | วัดยุคันธราวาส | วัดสวนแก้ว | วัดส้มเกลี้ยง | วัดอัมพวัน | วัดอินทร์ | วัดเสาธงหิน |

อำเภอปากเกร็ด


| ตลาดน้ำวัดแสงสิริธรรม | บ้านครูมนตรี ตราโมท ดุริยางคศิลปิน | พิพิธภัณฑ์เขาสัตว์ | มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ | วัดกู้ | วัดชลประทานรังสฤษดิ์ | วัดสะพานสูง | สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ | เกาะเกร็ด |

อำเภอเมือง


| ตำหนักประถม-นนทบุรี | พิพิธภัณฑ์มานุษยชาติวิทยา | พิพิธภัณฑ์และศูนย์ฝึกอบรมการแพทย์แผนไทย | วัดชมภูเวก | วัดตำหนักใต้ | วัดปราสาท | วัดสังฆทาน | วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร | วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร | วัดโชติการาม | ศาลหลักเมืองเดิม | อุทยานกาญจนาภิเษก |

อำเภอไทรน้อย


| ตลาดน้ำไทรน้อย | วัดเสนีวงศ์ | วัดไทรใหญ่ |


ติดต่อกับนครปฐม

ปากเกร็ด ๑๐ กิโลเมตร
บางกรวย ๑๕ กิโลเมตร
บางใหญ่ ๒๐ กิโลเมตร
บางบัวทอง ๒๕ กิโลเมตร
ไทรน้อย ๓๐ กิโลเมตร



การเดินทาง



รถยนต์มีถนนสายสำคัญ ๑๑ สาย คือ
ถนนพิบูลสงคราม ระหว่างเชิงสะพานพระรามหก - สี่แยกโรงภาพยนตร์ศรีพรสวรรค์
ถนนประชาราษฎร์ สาย ๑ ระหว่างศาลากลางจังหวัด - สี่แยกโรงภาพยนตร์ศรีพรสวรรค์
ถนนติวานนท์ ระหว่างสามแยกวัดลานนาบุญ-ท่าน้ำปทุมธานี
ถนนงามวงศ์วาน ระหว่างสี่แยกแคลาย-สี่แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ถนนนนทบุรี ๑ ระหว่างศาลากลางจังหวัด-ถนนติวานนท์
ถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างสี่แยกปากเกร็ด-สี่แยกหลักสี่
ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ระหว่างสะพานพระรามหก-อำเภอไทรน้อย
ถนนบางบัวทอง-ตลิ่งชัน ระหว่างแยกบางบัวทอง-ตลิ่งชัน
ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี ระหว่างแยกบางบัวทอง-สุพรรณบุรี
ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ระหว่างสามแยกเตาปูน-สามแยกวัดลานนาบุญ
ถนนรัตนาธิเบศร์ ระหว่างสี่แยกแคลาย-สะพานพระราม ๕ -ถนนบางบัวทอง-ตลิ่งชัน
รถโดยสารประจำทางทาง จากกรุงเทพฯมีรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) มาจังหวัดนนทบุรี ดังนี้
สาย ๖๙ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สนามบินน้ำ)
สาย ๑๐๔ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ปากเกร็ด)
สาย ๒๗ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ประชานิเวศน์ ๓)
สาย ๖๓ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-นนทบุรี)
สาย ๖๖ (สายใต้ใหม่-ประชานิเวศน์)
สาย ๓๐ (สายใต้ใหม่-นนทบุรี)
สาย ๗๐ (สนามหลวง-ประชานิเวศน์)
สาย ๒๐๓ (สนามหลวง-นนทบุรี)
สาย ๓๓ (สนามหลวง-ปทุมธานี)
สาย ๖๔ (สนามหลวง-ถนนสามเสน-นนทบุรี)
สาย ๙๐ (ย่านสินค้าพหลโยธิน-ท่าน้ำบางพูน)
สาย ๑๓๔ (ย่านสินค้าพหลโยธิน-อำเภอบางบัวทอง)
สาย ๑๑๔ (แยกลำลูกกา-นนทบุรี)
สาย ๑๑๗ (ห้วยขวาง-วัดเขมาฯ )
สาย ๑๒๗ (เชิงสะพานกรุงธนฯ-อำเภอบางบัวทอง)
สาย ๑๒๘ (เชิงสะพานกรุงธนฯ-บางใหญ่)
สาย ๓๒ (วัดโพธิ์-ปากเกร็ด)
สาย ๕๑ (ท่าน้ำบางโพ-ปากเกร็ด)
สาย ๕๒ (สถานีรถไฟบางซื่อ-ปากเกร็ด)
สาย ๖๕ (ท่าเตียน-วัดปากน้ำ)
สาย ๙๗ (โรงพยาบาลสงฆ์-นนทบุรี)
เรือ มีเรือด่วนเจ้าพระยาบริการระหว่างเส้นทางจากท่าน้ำวัดราชสิงขร เขตยานนาวาถึงท่าน้ำนนทบุรี (ฝั่งพระนคร)อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ทุกวัน ระหว่างเวลา ๐๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. เรือออกทุก ๒๐ นาที สอบถามที่บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด โทร. ๐ ๒๒๒๒ ๕๓๓๐, ๐ ๒๒๒๕ ๓๐๐๓, ๐ ๒๖๒๓ ๖๐๐๑-๓ โทรสาร ๐ ๒๖๒๓ ๖๐๐๑–๓ หรือ www.chaophrayaboat.co.th