ประวัติและข้อมูลของจังหวัดปทุมธานี


ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม
จังหวัดปทุมธานี เดิมเป็นถิ่นฐานบ้านเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ปี นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา คือเมื่อพุทธศักราช ๒๒๐๒ มังนันทมิตรได้กวาดต้อนครอบครัวมอญ เมืองเมาะตะมะ อพยพหนีภัยจากศึกพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ครอบครัวมอญเหล่านั้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก จากนั้นมาชุมชนสามโคกได้พัฒนาขึ้นมาตามลำดับ ต่อมาแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ชาวมอญได้อพยพหนีพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเป็นครั้งที่ ๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่สามโคก และครั้งสุดท้ายในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการอพยพชาวมอญครั้งใหญ่จากเมืองเมาะตะมะ เข้าสู่ประเทศไทยเรียกว่า " มอญใหญ่" พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญบางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคกอีกเช่นเดียวกัน ฉะนั้นจากชุมชนที่ขนาดเล็ก "บ้านสามโคก" จึงกลายเป็น "เมืองสามโคก" ในกาลต่อมา
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเอาพระทัยใส่ดูแล ทำนุบำรุงชาวมอญเมืองสามโคกไม่ได้ขาด ครั้งเมื่อเดือน ๑๑ พุทธศักราช ๒๓๕๘ ได้เสด็จประพาสที่เมืองสามโคก และประทับที่พลับพลาริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้ายเยื้องเมืองสามโคก ยังความปลาบปลื้มใจให้แก่ชาวมอญเป็นล้นพ้น จึงได้พากันหลั่งไหลนำดอกบัวขึ้นทูลเกล้าฯถวายราชสักการะอยู่เป็นเนืองนิจ ยังความซาบซึ้งในพระราชหฤทัยเป็นที่ยิ่ง จึงบันดาลพระราชหฤทัยให้พระราชทานนามเมืองสามโคกเสียใหม่ว่า "เมืองประทุมธานี" ซึ่งวันนั้นตรงกับวันที่ ๒๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๘ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ชื่อเมืองประทุมธานีจึงได้กำเนิดนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ในปี พุทธศักราช ๒๔๖๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าให้ใช้คำว่า "จังหวัด" แทน"เมือง" และให้เปลี่ยนการเขียนชื่อจังหวัดใหม่จาก "ประทุมธานี" เป็น "ปทุมธานี"
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้ยุบจังหวัดธัญบุรีขึ้นกับจังหวัดปทุมธานีเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๗๕
นับ ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชทานนาม เมืองปทุมธานีเป็นต้นมา จังหวัดปทุมธานีก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์มีศิลปวัฒนธรรม และเอกลักษณ์อื่นๆเป็นของตัวเองซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวปทุมธานีภาคภูมิใจเป็น อย่างยิ่ง และเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก
ตัวเมือง ปทุมธานีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯไปทางทิศเหนือประมาณ ๔๖ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๑,๕๖๕ ตารางกิโลเมตร เเบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ คือ อำเภอเมืองปทุมธานี สามโคก ลาดหลุมเเก้ว ธัญบุรี หนองเสือ คลองหลวง และลำลูกกา



อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดสระบุรี
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนครนายก และจังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดนนทบุรี


สถานที่ท่องเที่ยวในปทุมธานี


อำเภอคลองหลวง


| ตลาดน้ำคลองสาม | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก | พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ | ศูนย์บริการการกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช | หออัครศิลปิน | องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) | โครงการสระเก็บน้ำพระราม ๙ | โรงกษาปณ์ รังสิต |

อำเภอธัญบุรี


| วัดมูลจินดาราม | วัดเขียนเขต | ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต | สวนสนุกดรีมเวิลด์ |

อำเภอลาดหลุมแก้ว


| วัดบัวขวัญ | วัดลำมหาเมฆ | วัดเจดีย์หอย |

อำเภอลำลูกกา


| วัดพืชอุดม | อนุสรณ์สถานแห่งชาติ |

อำเภอสามโคก


| วัดจันทน์กะพ้อ | วัดตำหนัก | วัดท้ายเกาะ | วัดบางนา | วัดพลับสุธาวาส | วัดศาลาแดงเหนือ | วัดสองพี่น้อง | วัดสะแก | วัดสิงห์ | วัดเจดีย์ทอง | วัดเมตารางค์ | วัดไผ่ล้อม |

อำเภอเมือง


| วัดฉาง | วัดชินวราราม | วัดน้ำวน | วัดบางหลวง | วัดป่ากลางทุ่ง | วัดหงษ์ปทุมาวาส (วัดมอญ) | วัดเจตวงศ์ | วัดโคก | วัดโบสถ์ | ศาลหลักเมือง | ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี (หลังเก่า) | ห้องสมุดเรือและชุมชนบางปรอก |


ระยะทางจากตัวเมืองปทุมธานี ไปยังอำเภอต่าง ๆ

สามโคก ๕ กิโลเมตร
ลาดหลุมเเก้ว ๑๖ กิโลเมตร
ธัญบุรี ๓๔ กิโลเมตร
หนองเสือ ๔๗ กิโลเมตร
คลองหลวง ๒๒ กิโลเมตร
ลำลูกกา ๓๒ กิโลเมตร ระยะทางจากจังหวัดปทุมธานีไปยังจังหวัดใกล้เคียง

นนทบุรี ๒๖ กิโลเมตร
สุพรรณบุรี ๘๐ กิโลเมตร
ฉะเชิงเทรา ๘๙ กิโลเมตร
นครนายก ๑๐๑ กิโลเมตร



การเดินทาง



รถยนต์
จากกรุงเทพฯสามารถเดินทางไปจังหวัดปทุมธานีได้ ๓ เส้นทาง ดังนี้
๑. กรุงเทพฯ-บางเขน-รังสิต-ปทุมธานี
๒. กรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปากเกร็ด-ปทุมธานี
๓. กรุงเทพฯ-บางใหญ่-บางบัวทอง-ลาดหลุมแก้ว-ปทุมธานี ๔. กรุงเทพฯ-ใช้เส้นทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด ลงที่ด่วนบางพูน เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางรังสิต- ปทุมธานี (หมายเลข ๓๔๖)
รถโดยสารประจำทาง
๑. รถธรรมดาสาย ๓๓ สนามหลวง-ปทุมธานี
๒. รถธรรมดาสาย ๙๐ รัชโยธิน-ท่าน้ำปทุมธานี
๓. รถธรรมดาสาย ๒๙, ๓๔, ๓๙, ๕๙, ๙๕ รถปรับอากาศสาย ๑๘๕, ๕๐๓, ๕๑๐, ๕๑๓, ๕๒๐, ๕๒๒, ปอ. ๒๙, ปอ. ๓๔ และ ปอ. ๓๙ ลงรถที่รังสิต แล้วต่อรถสายรังสิต-ปทุมธานี
๔. รถร่วมบริการสาย ๑๐๔ (สถานีขนส่งจตุจักร-ปากเกร็ด) หรือสาย ๓๒ (วัดโพธิ์-ปากเกร็ด) แล้วต่อรถสาย ๓๓ และ ๙๐ จากปากเกร็ดไปจังหวัดปทุมธานี
สอบถามรายละเอียดเส้นทางเดินรถ ขสมก.เพิ่มเติมได้ที่ โทร.๑๘๔ หรือ www.bmta.co.th
รถไฟ
จากสถานีหัวลำโพง สามเสน บางซื่อ บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง เดินทางโดยรถไฟไปลงที่สถานีรังสิต แล้วต่อรถโดยสารจากสายรังสิต-ปทุมธานี สอบถามเกี่ยวกับตารางรถไฟ โทร. ๑๖๙๐ , ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๑๐, ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๒๐, ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔, ๐ ๒๒๒๐ ๔๔๔๔ หรือ www.railway.co.th
เรือ
จากกรุงเทพฯ โดยสารเรือด่วนเจ้าพระยาไปลงที่ท่าน้ำนนทบุรี แล้วต่อรถสายนนทบุรี-ปทุมธานี สอบถามข้อมูลเรือด่วนเจ้าพระยาได้ที่โทร. ๐ ๒๖๒๓ ๖๐๐๑-๓