ประวัติและข้อมูลของจังหวัดเพชรบุรี
เพชรบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอ่าวไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๑๒๓ กิโลเมตร เป็นเมืองเก่าที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน โดยมีชื่อปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่หนึ่งสมัยสุโขทัยและพบหลักฐานทาง โบราณคดีซึ่งมีอายุย้อนไปถึงสมัยขอมและสมัยทวารวดี ทั้งยังเคยเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญชั้นเมืองลูกหลวงในสมัยอยุธยา
เพชรบุรี มีพื้นที่ ๖,๒๕๕.๑๓๘ ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศทางด้านทิศตะวันตกเป็นป่าเขาสลับซับซ้อน มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นกั้นอาณาเขตระหว่างไทยกับสหภาพเมียนม่าร์ ส่วนทางด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบไปจนจดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย พื้นที่ของจังหวัดเพชรบุรีมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน ๓ สาย ได้แก่ แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำบางกลอย และแม่น้ำบางตะบูน ประชากรจังหวัดเพชรบุรีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีการทำนา สวนผลไม้ ทำน้ำตาลโตนด เลี้ยงสัตว์ และทำการประมง
จังหวัดเพชรบุรี แบ่งการปกครองออกเป็น ๘ อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาย้อย อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอบ้านแหลม อำเภอบ้านลาด อำเภอท่ายาง อำเภอแก่งกระจาน และอำเภอชะอำ
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ทิศตะวันออก ติดต่อชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพเมียนม่าร์
สถานที่ท่องเที่ยวในเพชรบุรีอำเภอชะอำ| พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน | วนอุทยานเขานางพันธุรัต | ศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทราย | สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี | หาดชะอำ | หุบกะพง | อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร | อำเภอท่ายาง| หาดปึกเตียน | อำเภอบ้านแหลม| บางขุนไทร | วัดเขาตะเครา | แหลมหลวง หรือ แหลมผักเบี้ย | อำเภอหนองหญ้าปล้อง| พุน้ำร้อนหนองหญ้าปล้อง | อำเภอเขาย้อย| ถ้ำเขาย้อย | วัดกุฏิ | ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำหรือลาวโซ่ง | อำเภอเมือง| ถ้ำเขาหลวง | พระรามราชนิเวศน์ หรือ พระราชวังบ้านปืน | วัดกำแพงแลง | วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) | วัดมหาธาตุวรวิหาร | วัดเขาบันไดอิฐ | วัดใหญ่สุวรรณาราม | หาดเจ้าสำราญ | อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) | อำเภอแก่งกระจาน| อุทยานศาสนาพระโพธิสัตว์กวนอิม | อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน | เขื่อนแก่งกระจาน | |
สิ่งที่น่าสนใจในเพชรบุรี
กิจกรรม
| ล่องแก่ง | สนามกอล์ฟ | สปา | โรงเรียนสอนกอล์ฟ |
งานเทศกาล
| งานประเพณีข้าวห่อกระเหรี่ยง | งานประเพณีไทยทรงดำ | งานพระนครคีรี-เมืองเพชร |
ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
| สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก | หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ |
การเดินทางจากตัวเมืองเพชรบุรีไปอำเภอต่าง ๆ และจังหวัดใกล้เคียง อำเภอบ้านลาด ๘ กิโลเมตร อำเภอบ้านแหลม ๑๒ กิโลเมตร อำเภอท่ายาง ๑๘ กิโลเมตร อำเภอเขาย้อย ๒๓ กิโลเมตร อำเภอหนองหญ้าปล้อง ๓๔ กิโลเมตร อำเภอชะอำ ๔๐ กิโลเมตร อำเภอแก่งกระจาน ๕๗ กิโลเมตร อำเภอหัวหิน ๖๖ กิโลเมตร อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ๕๘ กิโลเมตร จังหวัดราชบุรี ๕๔ กิโลเมตร |
การเดินทางรถยนต์ทางที่สะดวกและใกล้ที่สุดคือ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๕ (สายธนบุรี-ปากท่อ) ผ่านสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และอำเภอปากท่อ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๔ ไปจังหวัดเพชรบุรี รวมระยะทางประมาณ ๑๒๓ กิโลเมตร หรือจากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๔ ผ่านนครปฐม ราชบุรี ไปยังเพชรบุรี เป็นระยะทาง ๑๖๖ กิโลเมตร รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๐ ๒๔๓๕ ๑๑๙๙, ๐ ๒๔๓๔ ๗๑๙๒, ๐ ๒๔๓๕ ๕๖๐๕ หรือรถโดยสารของบริษัทเอกชน ติดต่อที่เพชรบุรีทัวร์ โทร. ๐ ๒๔๓๕ ๗๔๐๘ นอกจากนี้ยังสามารถโดยสารรถประจำทางสายใต้หลายสายที่วิ่งผ่านเพชรบุรี เช่น สายกรุงเทพฯ-ชุมพร สายกรุงเทพฯ-หัวหิน-ปราณบุรี เป็นต้น จากกรุงเทพฯ ยังสามารถเดินทางไปยังอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดเพชรบุรีได้ คือ กรุงเทพฯ – ชะอำ, กรุงเทพฯ–ท่ายาง, กรุงเทพฯ–บ้านแหลม อีกด้วย นอกจากนี้จากตัวเมืองเพชรบุรียังมีรถโดยสารไปหัวหิน ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและราชบุรี รถไฟ จากกรุงเทพฯ มีบริการรถไฟไปเพชรบุรีและอำเภอชะอำทุกวัน รถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง สอบถามรายละเอียดติดต่อหน่วยบริการเดินทาง โทร. ๑๖๙๐, ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๑๐, ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๒๐ หรือ www.railway.co.th และยังมีรถไฟออกจากสถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย) ทุกวัน สอบถามรายละเอียดติดต่อ โทร. ๐ ๒๔๑๑ ๓๑๐๒ |