ประวัติและข้อมูลของจังหวัดพะเยา
พะเยา หรือ เมืองภูกามยาว เป็นอาณาจักรเก่าแก่เมืองหนึ่งของล้านนาไทย “ภูกามยาว” หรือ พยาว แปลว่าหมู่บ้านดอยยาว ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๑๖๓๘ โดยพ่อขุนศรีจอมธรรม กษัตริย์ราชวงศ์ลัวะจังคราชหิรัญนครเงินยางเชียงแสน และเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยพ่อขุนงำเมือง ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตามอิทธิพลของอาณาจักรต่างๆ ที่ผลัดกันมีอำนาจในแถบนี้ จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พยาวเปลี่ยนชื่อเป็นพะเยา และรวมอยู่กับจังหวัดเชียงราย และในวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๒๐ ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดที่ ๗๒ ของประเทศไทย
พะเยาเป็นเหมือนเมืองผ่านที่นักท่องเที่ยวมักมองข้ามและเลยไปเที่ยว จังหวัดเชียงรายเสียมากกว่า แต่พะเยาก็เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวสวยงามและมีชื่อหลายแห่ง โดยเฉพาะป่าเขาพนาไพรที่ยังคงสมบูรณ์ ดูร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ที่ยังเต็มพื้นที่ของจังหวัด ถึงแม้ในอดีตจะเคยมีการตัดต้นไม้เป็นจำนวนมาก แต่เวลาที่ล่วงเลยไปทำให้ป่ากลับมาค่อย ๆ สมบูรณ์ มีกว๊านพะเยาที่ดูพระอาทิตย์ตกยามเย็นได้สวย มีผลไม้ที่ขึ้นชื่อและมีรสหวานไม่แพ้ที่ไหน ๆ คือ ลิ้นจี่ซึ่งจะออกผลมากในเดือนพฤษภาคม มีเครื่องจักสานผักตบชวาฝีมือดี รูปทรงทันสมัยผลิตที่บ้านสันม่วง พร้อมกับมีอุทยานแห่งชาติหลายแห่งที่มีความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวให้ นักท่องเที่ยวได้เดินทางมาสัมผัส เช่น อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง ที่มีนกยูงมากที่สุดในภาคเหนือ อุทยานแห่งชาติภูซาง มีน้ำตกน้ำอุ่น ๓๓ องศาเซลเซียส
พะเยามีเนื้อที่ประมาณ ๖,๓๕๓ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ ๒ กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่ใจ อำเภอปง กิ่งอำเภอภูซาง และกิ่งอำเภอภูกามยาว อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพาน อำเภอป่าแดด และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอสอง จังหวัดแพร่ ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ อำเภอบ้านหลวง อำเภอท่าวังผา อำเภอสองแคว และอำเภอเมืองน่าน ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัด เชียงราย
สถานที่ท่องเที่ยวในพะเยากิ่งอำเภอภูซาง| ตลาดการค้าชายแดนไทย-ลาว | อุทยานแห่งชาติภูซาง | อำเภอจุน| วัดพระธาตุขิงแกง | เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ | โบราณสถานเวียงลอ | อำเภอดอกคำใต้| อ่างเก็บน้ำห้วยชมพู-ผาเทวดา | อำเภอปง| วนอุทยานภูลังกา | วัดพระธาตุดอยหยวก | ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า | อำเภอเชียงคำ| น้ำตกน้ำมิน | วัดนันตาราม | วัดพระธาตุสบแวน | วัดพระเจ้านั่งดิน | วัดแสนเมืองมา | ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ | อนุสรณ์ผู้เสียสละ พ.ต.ท. ๒๓๒๔ | อำเภอเชียงม่วน| วนอุทยานไดโนเสาร์แก่งหลวง | วัดท่าฟ้าใต้ | อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง | อำเภอเมืองพะเยา| กว๊านพะเยา | พระตำหนักกว๊านพะเยา และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา | วัดพระธาตุจอมทอง | วัดลี | วัดศรีอุโมงค์คำ | วัดศรีโคมคำ | วัดอนาลโยทิพยาราม | ศูนย์อุตสาหกรรมอัญมณี เลขที่ | หอวัฒนธรรมนิทัศน์ | อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง | อุทยานแห่งชาติดอยหลวง | โบราณสถานบ้านร่องไฮ | อำเภอแม่ใจ| อุทยานแห่งชาติแม่ปืม | |
สิ่งที่น่าสนใจในพะเยา
กิจกรรม
| กิจกรรมเดินป่า | กิจกรรมโรยตัวหน้าผาเทวดา | สนามกอล์ฟ |
งานเทศกาล
| งานกาชาดและงานฤดูหนาว | งานบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง | งานประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวงเดือนแปดเป็ง | งานประเพณีปู่จากพญานาค | งานสืบสานตำนานไทลื้อโลก | งานอนุสาวรีย์ผู้เสียสละ พตท. ๒๓๒๔ | งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองพะเยา | งานเปิดโลกอุตสาหกรรมอัญมณีและของดีจังหวัดพะเยา | วันดอกคำใต้บาน |
ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
| ผ้าทอไทลื้อ | หมู่บ้านทำครกโม่หิน | หมู่บ้านทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา |
ระยะทางจากอำเภอเมืองพะเยาไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอดอกคำใต้ ๑๕ กิโลเมตร อำเภอแม่ใจ ๒๔ กิโลเมตร อำเภอจุน ๔๘ กิโลเมตร อำเภอเชียงคำ ๗๖ กิโลเมตร อำเภอปง ๗๙ กิโลเมตร อำเภอเชียงม่วน ๑๑๗ กิโลเมตร ระยะทางจากจังหวัดพะเยาไปจังหวัดใกล้เคียง เชียงราย ๙๔ กิโลเมตร อำเภอแม่สาย (เชียงราย) ๑๕๖ กิโลเมตร ลำปาง ๑๓๑ กิโลเมตร เชียงใหม่ ๒๒๒ กิโลเมตร |
การเดินทางรถยนต์ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง เส้นทางที่ ๑ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๒ สายเอเซีย ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๑ ที่นครสวรรค์ ผ่านอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก ผ่านอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง ๗๕๕ กิโลเมตร เส้นทางที่ ๒ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๒ สายเอเซีย ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และนครสวรรค์ เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๑๑๗ จนถึงจังหวัดพิษณุโลก แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๑๒ ไปจนถึงสุโขทัย เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๑๐๓ ผ่านอำเภอร้องกวาง เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๑ ผ่านอำเภองาว เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง ๗๘๒ กิโลเมตร เส้นทางที่ ๓ สามารถเดินทางเป็นวงรอบได้โดยใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นครสวรรค์-พิษณุโลก- สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-พะเยา ระยะทาง ๗๘๒ กิโลเมตร ขากลับใช้เส้นทางพะเยา-เชียงราย-แม่สรวย-เวียงป่าเป้า-ดอยสะเก็ด-เชียงใหม่- ลำปาง-ตาก-กรุงเทพฯ ระยะทาง ๙๖๖ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๙ ชั่วโมง รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารปรับอากาศและรถธรรมดาออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร ๒ สอบถามได้ที่ โทร. ๐ ๒๕๗๖ ๕๕๙๙ HYPERLINK "https://www.www.transport.co.th" www.transport.co.th หรือ บริษัทรถเอกชน สยามเฟิร์สทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๕๔ ๓๖๐๑ สมบัติทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๔๙๕-๙ บริษัท ขนส่ง จำกัด พะเยา โทร. ๐ ๕๔๔๓ ๑๓๖๓, ๐ ๕๔๔๓ ๑๔๘๘ จากเชียงใหม่มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดา และปรับอากาศไป-กลับจังหวัดพะเยาทุกวัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สถานีขนส่งอาเขตเชียงใหม่ ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ โทร. ๐ ๕๓๒๔ ๑๔๔๐, ๐ ๕๓๒๔ ๒๖๖๔ สถานีรถไฟรถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพง สามารถนั่งรถไฟลงที่สถานีลำปาง หรือ เชียงใหม่ แล้วต่อรถโดยสารไปจังหวัดพะเยา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. ๑๖๙๐, ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔, ๐ ๒๒๒๐ ๔๔๔๔ หรือ HYPERLINK "https://www.www.railway.co.th" www.railway.co.th เครื่องบิน ไม่มีเครื่องบินบินตรงไปจังหวัดพะเยา ต้องใช้เส้นทางบินกรุงเทพฯ-เชียงราย แล้วเช่าเหมารถมายังจังหวัดพะเยา สอบถามเที่ยวบินได้ที่ สายการบินไทย โทร. ๑๕๖๖, ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ หรือ HYPERLINK "https://www.www.thaiairways.com" www.thaiairways.com สายการบิน แอร์ เอเชีย โทร. ๐ ๒๕๑๕ ๙๙๙๙ หรือ HYPERLINK "https://www.www.airasia.com" www.airasia.com สายการบิน โอเรียนท์ ไทย โทร. ๑๑๒๖ หรือ HYPERLINK "https://www.www.fly12go.com" www.fly12go.com |