ประวัติและข้อมูลของจังหวัดพิษณุโลก
พิษณุโลก เป็นเมืองใหญ่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง มากมีไปด้วยแหล่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และธรรมชาติของสายน้ำและป่าเขาที่สวยงามน่าท่องเที่ยว อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ ๓๗๗ กิโลเมตร
จังหวัด พิษณุโลกมีพื้นที่ประมาณ ๑๐,๘๑๕ ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาและที่ราบสลับป่าไม้ทางด้านตะวันออก นอกนั้นเป็นที่ราบลุ่มอยู่โดยทั่วไป มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำน่านซึ่งไหลผ่านบริเวณ ตัวเมือง แบ่งการปกครองออกเป็น ๙ อำเภอคือ อำเภอเมือง อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม อำเภอบางระกำ อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอนครไทย อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอชาติตระการ และอำเภอเนินมะปราง ประวัติศาสตร์
หลักฐานการสร้างเมืองพิษณุโลกมีมาแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๕ สมัยขอมมีอำนาจปกครองแถบนี้ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า “เมืองสองแคว” เนื่องจากเมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำน่าน และแม่น้ำแควน้อย หรือบริเวณที่ตั้งของวัดจุฬามณีในปัจจุบัน เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๙๐๐ สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ ณ ตัวเมืองปัจจุบัน โดยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง
สมัยอยุธยา เมืองพิษณุโลกทวีความสำคัญมากขึ้น เพราะเป็นเมืองกึ่งกลางระหว่างกรุงศรีอยุธยาและอาณาจักรฝ่ายเหนือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถทรงปฏิรูปการปกครองและได้เสด็จมาประทับที่เมืองนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๐๖ จนสิ้นรัชกาลใน พ.ศ. ๒๐๓๑ ช่วงนั้นพิษณุโลกเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยานานถึง ๒๕ ปี หลังรัชสมัยของพระองค์ พิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง เป็นหน้าด่านสำคัญที่จะสกัดกั้นกองทัพพม่า เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชดำรงฐานะพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก ขณะนั้นไทยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงรวบรวมชายฉกรรจ์ชาวพิษณุโลกกอบกู้อิสรภาพชาติ ไทยได้ใน พ.ศ. ๒๑๒๗
ในสมัยกรุงธนบุรี พิษณุโลกเป็นสถานที่ตั้งมั่นรับศึกพม่า เมื่อครั้งกองทัพของอะแซหวุ่นกี้มาตีเมืองพิษณุโลก ใน พ.ศ. ๒๓๑๘ อะแซหวุ่นกี้ต้องเผชิญการต่อสู้อย่างทรหดกับเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุร สีห์ถึงขนาดต้องขอดูตัว และได้ทำนายเจ้าพระยาจักรีว่าต่อไปจะได้เป็นกษัตริย์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงดำริให้รื้อกำแพงเมืองพิษณุโลกเพื่อ ไม่ให้ข้าศึกใช้เป็นที่มั่น ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๓๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นมณฑลเรียกว่า มณฑลพิษณุโลก ต่อมาเมื่อยกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว พิษณุโลกจึงมีฐานะเป็นจังหวัดเรื่อยมาจนปัจจุบัน
สถานที่ท่องเที่ยวในพิษณุโลกอำเภอชาติตระการ| อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ | อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว | อำเภอนครไทย| อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า | อำเภอวังทอง| น้ำตกปอย และ สวนป่าเขากระยาง | น้ำตกวังนกแอ่นหรือสวนรุกขชาติสกุโณทยาน | น้ำตกแก่งซอง | น้ำตกแก่งโสภา | วัดราชคีรีหิรัญยาราม | อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง | อำเภอวัดโบสถ์| อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว | เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย-เขาประดู่ | อำเภอเนินมะปราง| ถ้ำเดือน-ถ้ำดาว | เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล | อำเภอเมือง| กำแพงเมืองคูเมือง | พิพิธภัณฑ์ผ้ามหาวิทยาลัยนเรศวร | พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี (จ่าสิบเอกทวี-พิมพ์ บูรณเขตต์) | วัดจุฬามณี | วัดนางพญา | วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ วัดใหญ่ หรือ วัดพระศรี | วัดราชบูรณะ | วัดเจดีย์ยอดทอง | ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช | สวนนกไทยศึกษา | หอศิลปและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยนเรศวร | เสาหลักเมืองพิษณุโลก | |
สิ่งที่น่าสนใจในพิษณุโลก
กิจกรรม
| จักรยานท่องเที่ยว | รถรางท่องเที่ยว | ล่องแก่งเรือยาง | สนามกอล์ฟ | สามล้อทัวร์ |
งานเทศกาล
| งานมหกรรมอาหารและสินค้าของที่ระลึกจังหวัดพิษณุโลก | ประเพณีการแข่งเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน | ประเพณีปักธงนครไทย |
ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
| กล้วยตากบางกระทุ่ม | น้ำปลาบางระกำ | สุนัขพันธุ์บางแก้ว | หมี่ซั่ว | แหนมและหมูยอสุพัตรา | ไก่ชนพระนเรศวร หรือ ไก่เจ้าเลี้ยง | ไม้กวาดนาจาน |
ระยะทางจากอำเภอเมืองพิษณุโลกไปอำเภอต่าง ๆ
อำเภอบางระกำ ๑๗ กิโลเมตร อำเภอวังทอง ๑๗ กิโลเมตร อำเภอวัดโบสถ์ ๓๐ กิโลเมตร อำเภอบางกระทุ่ม ๓๕ กิโลเมตร อำเภอพรหมพิราม ๔๐ กิโลเมตร อำเภอเนินมะปราง ๗๕ กิโลเมตร อำเภอนครไทย ๙๗ กิโลเมตร อำเภอชาติตระการ ๑๓๖ กิโลเมตร อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตร ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดเลย ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร |
การเดินทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ถนนพหลโยธิน ถึงวังน้อยแล้วแยกเข้าทางสายเอเชีย หลวงหมายเลข ๓๒ ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วใช้เส้นทางสาย ๑๑๗ ตรงสู่พิษณุโลก รวมระยะทาง ๓๗๗ กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่สะดวกที่สุด หรือจากสิงห์บุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑ สายอินทร์บุรี-ตากฟ้า จนถึงทางหลวงหมายเลข ๑๒ สายพิษณุโลก-หล่มสัก ที่เขตอำเภอวังทอง เลี้ยวซ้ายไปอีก ๑๗ กิโลเมตร เข้าสู่พิษณุโลกรวมระยะทางประมาณ ๔๕๐ กิโลเมตร หากใช้เส้นทางที่ผ่านเพชรบูรณ์และหล่มสัก แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๒ สายหล่มสัก-พิษณุโลก ระยะทางประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร จะผ่านแหล่งท่องเที่ยวสองข้างทางหลายแห่ง รถโดยสราประจำทาง จากสถานีขนส่งหมอชิต ๒ มีบริการรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสาร ปรับอากาศไปยังพิษณุโลกตลอดวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒-๖๖ หรือ HYPERLINK "https://www.www.transport.co.th" www.transport.co.th และที่สถานีขนส่งพิษณุโลก โทร. ๐ ๕๕๒๔ ๒๔๓๐ รถประจำทางปรับอากาศ ติดต่อ พิษณุโลกยานยนต์ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๙๒๔-๕ หรือ ๐ ๕๕๒๕ ๘๖๔๗ เชิดชัยทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๐๑๙๘-๙ หรือ ๐ ๕๕๒๑ ๑๙๒๒ วินทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๓๗๕๓ หรือ ๐ ๕๕๒๕ ๒๖๑๗ นอกจากนี้ยังมีรถ บขส. บริการระหว่างพิษณุโลกกับจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง เชียงใหม่ สุโขทัย ตาก (แม่สอด) พิจิตร เพชรบูรณ์ และขอนแก่น ทุกวัน รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดบริการรถด่วนพิเศษ (สปรินเตอร์) รถเร็ว และรถธรรมดา จากกรุงเทพฯ ไปพิษณุโลกทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๑๖๙๐, ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔, ๐ ๒๒๒๐ ๔๔๔๔ สถานีรถไฟพิษณุโลก โทร. ๐ ๕๕๒๕ ๘๐๐๕ หรือ HYPERLINK "https://www.www.railway.co.th" www.railway.co.th เครื่องบิน มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-พิษณุโลกทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ สายการบินไทย โทร. ๑๕๖๖, ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ HYPERLINK "https://www.www.thaiairways.com" www.thaiairways.com หรือสำนักงานพิษณุโลก โทร. ๐ ๕๕๒๔ ๒๙๗๑-๒ |