ประวัติและข้อมูลของจังหวัดปราจีนบุรี


ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารวดี
ปราจีนบุรี เป็นจังหวัดชายแดนอยู่ทางทิศด้านตะวันออก ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๑๓๕ กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ ๔,๗๖๒ ตารางกิโลเมตร เคยเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยลพบุรีประมาณ ๘๐๐ ปี ดังปรากฏหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณที่เรียกว่า “เมืองศรีมโหสถ” ที่ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ และทางด้านทิศตะวันออกของเมืองศรีมโหสถ บริเวณบ้านโคกขวาง อำเภอศรีมหาโพธิ ยังพบชุมชนโบราณอายุร่วมสมัยเดียวกันกับเมืองศรีมโหสถ บริเวณซากเมืองโบราณเหล่านี้มีซากโบราณสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ศาสนกิจ และโบราณวัตถุ ได้แก่ พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องปั้นดินเผา เครื่องสำริด ซึ่งเป็นเครื่องมือ และเครื่องใช้กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป
ต่อมาศูนย์ กลางความเจริญได้ย้ายมาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงดังเช่นปัจจุบัน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า “เมืองปราจีน” ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังเรียกว่า “เมืองปราจิณ” หรือ “มณฑลปราจิณ” จวบจนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการปกครองแผ่นดินตามแบบต่างประเทศ มณฑลปราจิณได้ถูกยุบเลิก คงมีฐานะเป็นเพียงหัวเมืองเมืองหนึ่ง ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” จึงมีชื่อเรียกใหม่ว่า จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบ้านสร้าง อำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมโหสถ อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอกบินทร์บุรี และอำเภอนาดี



อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสระแก้ว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดนครนายก


สถานที่ท่องเที่ยวในปราจีนบุรี


อำเภอกบินทร์บุรี


| พิพิธภัณฑ์เหมืองทองคำบ้านบ่อทอง | อุทยานกบินทร์เฉลิมราชย์ |

อำเภอนาดี


| สวนนงนุช แคมปิง รีสอร์ท | อุทยานแห่งชาติทับลาน |

อำเภอบ้านสร้าง


| ค้างคาวแม่ไก่วัดบางกระเบา |

อำเภอประจันตคาม


| น้ำตกตะคร้อและน้ำตกสลัดได | น้ำตกธารทิพย์ | น้ำตกส้มป่อย |

อำเภอศรีมหาโพธิ


| หลุมเมือง | อนุสาวรีย์ลายพระหัตถ์ | โบราณสถานพานหิน |

อำเภอศรีมโหสถ


| กลุ่มโบราณสถานสระมรกต | ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ | หลวงพ่อทวารวดี | โบราณสถานเมืองศรีมโหสถ |

อำเภอเมืองปราจีนบุรี


| ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร | น้ำตกธารรัตนา | น้ำตกเขาอีโต้ | น้ำตกเหวนรก | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี | พิพิธภัณฑ์พระครูอุทัยธรรมธารี (เส็ง สุขิโต) | พิพิธภัณฑ์อยู่สุขสุวรรณ์ | วัดสง่างาม | วัดแก้วพิจิตร | วัดโบสถ์ | ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช | ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี | สวนพันธุ์ไผ่ | อ่างเก็บน้ำจักรพงษ์ | โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร |

สิ่งที่น่าสนใจในปราจีนบุรี


กิจกรรม


| กีฬา | ล่องแก่งหินเพิง | สปา | แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ | แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร |

งานเทศกาล


| งานมาฆปูรมีศรีปราจีน | งานลอยกระทง | งานวันเกษตร และของดีเมืองปราจีน | งานสัปดาห์ล่องแก่งหินเพิง | งานสืบสานประเพณีสรงน้ำและแห่เจ้าพ่อพระปรง | งานแข่งเรือยาวประเพณี | งานแห่บั้งไฟ |

ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น


| กลุ่มจักสานใบลานบ้านทับลาน | ตลาดบ้านโง้ง บ้านต้น | ตลาดหนองชะอม ตลาดผลไม้-พืชผักนานาชนิด | ถ่านไม้ไผ่ | นันทวันไหมไทย | น้ำพริกคุณสำรวย | ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเจ้าพระยาอภัยภูเบศร | ผลไม้ และผลผลิตการเกษตร | ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ | หัตถกรรมจักสานจากไม้ไผ่ | เฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ | เสื่อกก | ไม้กวาดดอกหญ้า |


ระยะทางจากอำเภอเมืองปราจีนบุรีไปยังอำเภอต่าง ๆ

อำเภอบ้านสร้าง ๒๐ กิโลเมตร
อำเภอศรีมโหสถ ๒๐ กิโลเมตร
อำเภอศรีมหาโพธิ ๒๑ กิโลเมตร
อำเภอประจันตคาม ๓๐ กิโลเมตร
อำเภอกบินทร์บุรี ๖๐ กิโลเมตร
อำเภอนาดี ๗๘ กิโลเมตร ระยะทางจากจังหวัดปราจีนบุรีไปยังจังหวัดใกล้เคียง

นครนายก ๒๙ กิโลเมตร
ฉะเชิงเทรา ๗๖ กิโลเมตร
สระแก้ว ๙๘ กิโลเมตร
ระยอง ๑๘๖ กิโลเมตร
นครราชสีมา ๑๙๔ กิโลเมตร
จันทบุรี ๒๔๕ กิโลเมตร
นอกจากนั้นที่บริเวณสี่แยกเนินหอมมีรถโดยสารประจำทาง หรือจะเช่ารถไปยังแก่งหินเพิง หรือ น้ำตกต่าง ๆ และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ได้



การเดินทาง



รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ได้แก่
๑. จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางสายถนนพหลโยธิน พอถึงรังสิตให้ชิดซ้ายโดยใช้สะพานวงแหวนข้ามมาลงที่เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๐๕ เลียบคลองรังสิตผ่านอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก แล้วให้เข้าเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๓ เส้นนครนายก-ปราจีนบุรี พอถึงแยกขวาที่สามแยกหนองชะอมประมาณกิโลเมตรที่ ๑๕๕ ให้ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๑๙ ก็จะถึงตัวจังหวัดปราจีนบุรี ระยะทางประมาณ ๑๓๒ กิโลเมตร หรือ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๓ เลี้ยวขวาที่วงเวียนบริเวณศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชระยะทาง ๑๓๖ กิโลเมตร
๒. จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๑ ผ่านอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พอถึงประมาณกิโลเมตรที่ ๙๐ ให้เลี้ยวขวาโดยใช้เส้นทางหมายเลข ๓๓ ผ่านอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครนายกไปจนถึงประมาณกิโลเมตรที่ ๑๕๕ ให้แยกขวาที่สามแยกบ้านหนองชะอม เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๑๙ ก็จะถึงตัวเมืองปราจีนบุรี ระยะทางประมาณ ๑๖๔ กิโลเมตร
๓. จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๐๔ ผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอพนมสารคาม แล้วให้เข้าเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๑๙ ผ่านอำเภอศรีมโหสถ ก็จะถึงตัวเมืองปราจีนบุรี ระยะทาง ๑๕๘ กิโลเมตร
๔. จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๔๘๑ ที่เขตหนองจอก ผ่านอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา และ อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ระยะทาง ๗๐ กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทางบริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารประจำทาง ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร ๒ ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมงครึ่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒-๖๖, ๐ ๒๙๓๖ ๓๖๗๐, ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๑๖ (จองตั๋ว) หรือ HYPERLINK "http://www.transport.co.th" www.transport.co.th จังหวัดปราจีนบุรี โทร. ๐ ๓๗๒๑ ๑๒๙๒
เส้นทางเดินรถมี ๒ เส้นทาง คือ
๑. กรุงเทพฯ-หินกอง-นครนายก-ปราจีนบุรี รถโดยสารปรับอากาศชั้น ๑ และ ชั้น ๒ สาย ๕๘, ๕๙ เที่ยวแรก ๐๔.๕๐ น. เที่ยวสุดท้าย ๒๑.๐๐ น. รถออกทุก ๓๐ นาที
๒. กรุงเทพฯ-องครักษ์-นครนายก-ปราจีนบุรี รถโดยสารปรับอากาศชั้น ๑ และชั้น ๒ สาย ๙๒๐ เที่ยวแรก ๐๕.๒๕ น. เที่ยวสุดท้าย ๑๘.๒๕ น.
รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการขบวนรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปราจีนบุรี ออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงทุกวัน วันละ ๔ ขบวนคือ ๐๕.๕๕ น., ๐๘.๐๐ น., ๑๓.๐๕ น., ๑๕.๒๕ น. และ ๑๗.๔๐ น. ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีรถไฟปราจีนบุรี โทร. ๐ ๓๗๒๑ ๑๑๒๐ กรุงเทพฯ โทร. ๑๖๙๐, ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔, ๐ ๒๒๒๐ ๔๔๔๔ หรือ www.railway.co.th