ประวัติและข้อมูลของจังหวัดพิจิตร


ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ แข่งเรือยาวประเพณี พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง ตำนานเมืองชาละวัน

พิจิตร เมืองพญาชาละวัน ถิ่นกำเนิดนิทานเรื่อง “ไกรทอง” เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง มีความหมายว่า “เมืองงาม” ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก มีแม่น้ำน่านกับแม่น้ำยมไหลผ่าน ตัวเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน พิจิตรเป็นเมืองเก่าแก่ ในสมัยสุโขทัย ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและในศิลาจารึกหลักที่ ๘ รัชกาลพระยาลิไท เรียกว่า “เมืองสระหลวง” ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองโอฆบุรี” ซึ่งแปลว่า “เมืองในท้องน้ำ” นอกจากนี้เมืองพิจิตรยังเป็นที่ประสูติของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์หนึ่งคือ สมเด็จพระศรีสรรเพชญที่ ๘ หรือ สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ สมัยรัตนโกสินทร์ เมืองพิจิตรเป็นเพียงเมืองขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีเจ้าเมืองปกครองเช่นเมืองอื่นๆ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดให้ย้ายเมืองพิจิตรมาตั้งที่บ้านคลองเรียงซึ่งเป็นคลองขุดใหม่ ลัดแม่น้ำน่านที่ตื้นเขิน คลองเรียงจึงกลายเป็นแม่น้ำน่านไป ส่วนบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังปรากฏโบราณสถานอยู่หลายแห่ง ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยา
จังหวัดพิจิตรมีเนื้อที่ ๔,๕๓๑.๐๑๓ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๙ อำเภอ ๓ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอสามง่าม อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล อำเภอทับคล้อ อำเภอวังทรายพูน อำเภอวชิรบารมี กิ่งอำเภอสากเหล็ก กิ่งอำเภอดงเจริญ และกิ่งอำเภอบึงนาราง อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดนครสวรรค์


สถานที่ท่องเที่ยวในพิจิตร


อำเภอตะพานหิน


| พระพุทธเกตุมงคล หรือ หลวงพ่อโตตะพานหิน วัดเทวาปราสาท | วัดพระพุทธบาทเขารวก |

อำเภอทับคล้อ


| วัดทับคล้อ (สวนพระโพธิ์สัตว์) |

อำเภอบางมูลนาก


| วัดท่าช้าง | วัดห้วยเขน |

อำเภอวังทรายพูน


| เหมืองแร่ทองคำเขาพนมพา |

อำเภอเมือง


| บึงสีไฟ | วัดท่าหลวง | วัดนครชุม | วัดหัวดง | วัดเขารูปช้าง | วัดโรงช้าง | ศาลเจ้าแม่ทับทิม | อุทยานเมืองเก่าพิจิตร |

อำเภอโพทะเล


| วัดหิรัญญาราม หรือ วัดบางคลาน |

อำเภอโพธิ์ประทับช้าง


| วัดโพธิ์ประทับช้าง |

สิ่งที่น่าสนใจในพิจิตร


กิจกรรม


| แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร กิ่งอำเภอดงเจริญ |

งานเทศกาล


| งานประเพณีกำฟ้า | งานแข่งเรือประเพณี |

ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น


| กระท้อน | ขนุน | ผ้าทอมือบ้านป่าแดง | พระเครื่องเมืองพิจิตร | มะขามแก้วสี่รส | มะม่วง | มะไฟหวาน | ส้มโอท่าข่อย |

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่างๆ
อำเภอสามง่าม ๑๘ กิโลเมตร
อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ๒๕ กิโลเมตร
อำเภอวชิรบารมี ๒๖ กิโลเมตร
อำเภอตะพานหิน ๒๘ กิโลเมตร
อำเภอวังทรายพูน ๓๑ กิโลเมตร
อำเภอทับคล้อ ๔๔ กิโลเมตร
อำเภอบางมูลนาก ๕๐ กิโลเมตร
อำเภอโพทะเล ๖๖ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอสากเหล็ก ๒๐ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอดงเจริญ ๗๘ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอบึงนาราง ๘๖ กิโลเมตร



การเดินทาง



รถยนต์
เส้นทางที่ ๑ จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข ๑) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๒ ที่อยุธยา ถึงจังหวัดนครสวรรค์ แยกเข้าเส้นทางนครสวรรค์ - ชุมแสง - บางมูลนาก - ตะพานหิน - พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข ๑๑๑๘) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร รวมระยะทางประมาณ ๓๔๕ กิโลเมตร
เส้นทางที่ ๒ จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข ๑) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๒ ที่อยุธยา ถึงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แยกเข้าสู่เส้นทางตากฟ้า - เขาทราย - สากเหล็ก (ทางหลวงหมายเลข ๑๑) และเข้าสู่จังหวัดพิจิตรที่กิ่งอำเภอสากเหล็ก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๑) รวมระยะทางประมาณ ๓๔๔ กิโลเมตร
เส้นทางที่ ๓ จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข ๑) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๒ ที่อยุธยา ถึงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แยกเข้าสู่เส้นทางสายตากฟ้า - เขาทราย (ทางหลวงหมายเลข ๑๑) แยกเข้าเส้นทางเขาทราย - ตะพานหิน (ทางหลวงหมายเลข ๑๑๓) แยกเข้าเส้นทางตะพานหิน - พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข ๑๑๓) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร ระยะทางประมาณ ๓๓๘ กิโลเมตร
เส้นทางที่ ๔ จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข ๑) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๒ ที่อยุธยา ถีงจังหวัดนครสวรรค์ แยกเข้าเส้นทางนครสวรรค์ - พิษณุโลก (ทางหลวงหมายเลข ๑๑๗) ถึงอำเภอสามง่าม แยกเข้าเส้นทางสามง่าม - พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข ๑๑๕) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร รวมระยะทาง ๓๖๐ กิโลเมตร
รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ไป-กลับ กรุงเทพฯ - พิจิตร ทุกวัน วันละหลายเที่ยว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔, ๐ ๒๒๒๐ ๔๔๔๔, ๑๖๙๐ หรือ HYPERLINK https://www.www.srt.or.th www.railway.co.th สถานีรถไฟพิจิตร โทร. ๐ ๕๖๖๑ ๒๑๓๖
รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารประจำทางทั้งปรับอากาศและธรรมดา ไป-กลับ ระหว่างกรุงเทพฯ - พิจิตร ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ๒ ถนนกำแพงเพชร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒-๖๖ หรือ HYPERLINK "https://www.www.transport.co.th" www.transport.co.th สถานีขนส่งพิจิตร โทร. ๐ ๕๖๖๑ ๑๖๒๒