ประวัติและข้อมูลของจังหวัดลำปาง
จังหวัดลำปางเป็นแหล่งอารยธรรมล้านนาไทยที่น่าสนใจไม่น้อยไปกว่าจังหวัดใด ๆ ชาวลำปางมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย คงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นของตนเอง วัดวาอารามและสถาปัตยกรรมท้องถิ่น รถม้าพาหนะคู่เมือง แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่คงความบริสุทธิ์สวยงาม เป็นแหล่งทำไม้ในอดีต ช้างที่เคยทำหน้าที่ลากซุงจึงเป็นสัตว์อีกอย่างหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของ เมือง เครื่องปั้นดินเผาที่ทำจากดินขาวขึ้นชื่อ สิ่งเหล่านี้ทำให้นครลำปางกลายเป็นจุดหมายที่นักเดินทางมักแวะมาเยี่ยมชม
ในอดีตเมืองลำปางมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ศรีดอนชัย ลัมภะกัมปะนคร เขลางค์นคร และกุกกุฏนคร (นครไก่) คำว่า “ลำปาง” นั้น หมายถึง ไม้ป้าง ตำนานเล่าว่าเป็นไม้ข้าวหลามที่ลัวะอ้ายกอนใช้หาบกระบอกน้ำผึ้ง มะพร้าว มะตูม มาถวายพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จมายังบริเวณนี้ ก่อนจะปักไม้เอาทางปลายลงเกิดเป็นต้นขะจาวที่เห็นอยู่ข้างวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ต้นขะจาวนี้มีลักษณะผิดแผกจากไม้อื่นด้วยกิ่งก้านชี้ลงดิน เป็นไม้มงคลประจำจังหวัดลำปางที่มีอายุกว่า ๒,๕๐๐ ปีล่วงมาแล้ว
คำว่า “เขลางค์นคร” เป็นภาษาบาลี ปรากฏอยู่ในตำนานตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๓ คำว่าลครซึ่งกลายมาจากนคร จึงเป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกเมืองเขลางค์ ทั้งยังปรากฏใช้ในศิลาจารึกและพงศาวดารในรุ่นต่อมา ส่วนภาษาพูดจะออกเสียงว่าละกอน มีความหมายเดียวกับคำว่าเมืองลคร หรือ “เวียงละกอน”
นอกจากนี้บางตำนานยังเล่าว่าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จออกโปรดสัตว์มาจนถึงเมืองนี้ พระอินทร์ได้ทราบก็เกรงว่าชาวเมืองจะตื่นไม่ทันทำบุญกับพระพุทธองค์ จึงแปลงกายเป็นไก่สีขาวขันปลุกชาวเมืองให้ตื่นทันออกมาทำบุญตักบาตร ด้วยเหตุนี้เมืองลำปางจึงได้ชื่อว่า “กุกกุฏนคร” อันหมายถึงเมืองไก่ขาว ไก่ขาวจึงเป็นสัญลักษณ์ของเมืองที่เราพบตามป้ายชื่อถนน บนสะพาน หรือตามตึกต่าง ๆ แม้แต่ในชามตราไก่ที่ขึ้นชื่อ
หลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีชุมชนอาศัยอยู่ในพื้นที่ของนครลำปางมากว่า ๓,๐๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว จากการค้นพบภาพเขียนสีและโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ตลอดจนชิ้นส่วนภาชนะดินเผาในสมัยหริภุญไชย และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยสันกำแพง
สภาพภูมิศาสตร์ ลำปางเป็นเมืองในหุบเขารูปแอ่งกะทะรายล้อมด้วยเทือกเขาสูงชัน บางส่วนผุดเป็นแนวหินแกรนิตบนเทือกเขาผีปันน้ำด้านตะวันตก ในบางยุคเกิดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดแอ่งที่ราบ ขนาดใหญ่และทิวเขามากมายทับซ้อนกัน เมื่อผ่านกาลเวลามายาวนานส่วนที่เป็นแอ่งก็กลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เกิดการทับถมของตะกอนดินและซากพืชซากสัตว์จนเป็นผืนดินที่ราบ แหล่งน้ำมัน และถ่านหินลิกไนต์แทรกตัวอยู่ในอำเภอแม่เมาะ บริเวณตอนกลางของเมืองลำปาง บริเวณที่ราบภูเขาสูงและที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำอันเป็นที่ราบดินตะกอนเก่า ผืนดินมี ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง และมีแม่น้ำวังไหลผ่านทำให้บริเวณอำเภอแม่พริก อำเภอเถิน และบางส่วนของอำเภอสบปราบเป็นแหล่งทำเกษตรกรรมตลอดทั้งปี ส่วนบริเวณอำเภอเมือง อำเภอเกาะคา อำเภอแม่ทะ อำเภองาว อำเภอห้างฉัตร และบริเวณตอนกลางของอำเภอแจ้ห่มเป็นที่ราบสูงและภูเขาสลับซับซ้อน บริเวณตอนบนและพื้นที่โดยรอบจังหวัด ด้านอำเภอวังเหนือ อำเภอแจ้ห่ม อำเภองาว และบริเวณตอนใต้ของอำเภอแจ้ห่มส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ปกคลุมด้วยผืนป่าอุดมสมบูรณ์อันเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของเมืองลำปาง
ลำปางอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๖๓๕ กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑๒,๕๓๓ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๓ อำเภอ คือ อำเภอเมืองลำปาง อำเภอเกาะคา อำเภอห้างฉัตร อำเภอเสริมงาม อำเภอแม่เมาะ อำเภอแจ้ห่ม อำเภอสบปราบ อำเภอเมืองปาน อำเภองาว อำเภอเถิน อำเภอวังเหนือ อำเภอแม่พริก อำเภอแม่ทะ
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดเชียงรายและพะเยา
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัย และตาก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดแพร่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
สถานที่ท่องเที่ยวในลำปางอำเภองาว| ค่ายฝึกการรบพิเศษประตูผา | บ้านจ้างหลวง | ศาลเจ้าพ่อประตูผา | อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท | แหล่งโบราณคดีค่ายประตูผา | อำเภอวังเหนือ| น้ำตกวังแก้ว | อำเภอสบปราบ| อุทยานแห่งชาติดอยจง | อำเภอห้างฉัตร| วัดปงยางคก | สวนป่าทุ่งเกวียน | อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล | อำเภอเกาะคา| บ่อน้ำแร่บ่อน้ำร้อน | วัดพระธาตุจอมปิง | วัดพระธาตุลำปางหลวง | วัดไหล่หินแก้วช้างยืน | อำเภอเถิน| อุทยานแห่งชาติแม่วะ | อำเภอเมืองปาน| อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน | อำเภอเมืองลำปาง| กาดกองต้าถนนคนเดิน | ชุมชนท่ามะโอ | ตลาดหัวขัว | บ้านสวนเซรามิก | บ้านเสานัก | พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ | พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย | ลำปางรักษ์สมุนไพร | วัดประตูป่อง | วัดป่าฝาง | วัดพระธาตุเสด็จ | วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม | วัดม่อนพญาแช่ | วัดศรีชุม | วัดศรีรองเมือง | วัดเจดีย์ซาวหลัง | วัดไชยมงคล | ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง | สถานีรถไฟนครลำปาง | สวนสาธารณะหนองกระทิง | สะพานรัษฎาภิเศก | สำนักสุสานไตรลักษณ์ | อ่างเก็บน้ำวังเฮือ | เขื่อนกิ่วลม | อำเภอแจ้ห่ม| วัดอักโขชัยคีรี | อำเภอแม่เมาะ| เหมืองลิกไนต์ | |
สิ่งที่น่าสนใจในลำปาง
กิจกรรม
| ชมเมืองบนรถม้า |
งานเทศกาล
| งานขันโตกช้าง | งานประเพณีล่องสะเปาจาวเวียงละกอน | งานพิธีบวงสรวงเสาหลักเมืองและสืบชะตาเมือง | งานฤดูหนาวและงานกาชาด | งานวันรถไฟรถม้าลำปาง | งานวันสับปะรด | งานหลวงเวียงละคอน | งานเซรามิกแฟร์ | งานเดิน-วิ่งมินิฮาล์ฟมาราธอนแม่เมาะ | งานเทศกาลกินปลา | งานแห่สลุงหลวงและสงกรานต์ |
ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
| กระดาษสา | กลุ่มร่มฉัตรหัตถกรรม | ตลาดกลางสินค้าเอนกประสงค์ | ผ้าทอมือ | รถม้าย่อขนาด | เซรามิก | ไม้แกะสลัก |
ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดลำปาง และท่ารถในตัวเมือง เกาะคา ๑๕ กิโลเมตร ท่ารถถนนรอบเวียง ใกล้ ธนาคารกสิกรไทย ห้างฉัตร ๑๘ กิโลเมตร ห้าแยกหอนาฬิกาแม่ทะ ๒๖ กิโลเมตร ถนนทิพวรรณ สี่แยกศรีชุม เสริมงาม ๓๙ กิโลเมตร ถนนสนามบินข้างโรงเรียนบุญวาทย์ แม่เมาะ ๔๐ กิโลเมตร ถนนทิพวรรณ สี่แยกร้านขายยาไทยโอสถ แจ้ห่ม ๕๒ กิโลเมตร ถนนทิพวรรณ แยกซอยข้างธนาคารนครหลวงไทย สบปราบ ๕๔ กิโลเมตร ท่ารถตรงข้ามศาลจังหวัดด้านประตูชัย เมืองปาน ๖๙ กิโลเมตร ท่ารถถนนบุญวาทย์ งาว ๘๓ กิโลเมตร ท่ารถตรงข้ามวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง เถิน ๙๖ กิโลเมตร ท่ารถตรงข้ามศาลจังหวัดด้านประตูชัย วังเหนือ ๑๐๗ กิโลเมตร ถนนทิพวรรณ แยกท่ารถซอยข้างธนาคารนครหลวงไทย แม่พริก ๑๒๕ กิโลเมตร ท่ารถถนนบุญวาทย์ ข้างศาลากลางจังหวัดหลังเก่า |
การเดินทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ถึงกิโลเมตรที่ ๕๒ แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๒ ผ่านสิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๑ ผ่านกำแพงเพชร ตาก ตรงเข้าสู่จังหวัดลำปาง รวมระยะทางทั้งสิ้น ๕๙๙ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๗ ชั่วโมง หรือใช้ทางสายใหม่จากพิษณุโลกเข้าอำเภอเด่นชัยแล้วเดินทางสู่จังหวัดลำปาง รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด จัดบริการรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศ ไปลำปางทุกวัน รายละเอียดติดต่อ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒-๖๖, ๐ ๒๕๖๗ ๕๕๙๙ สาขาลำปาง โทร. ๐ ๕๔๒๒ ๗๔๑๐ หรือ www.transport.co.th นอกจากนี้ยังมีบริษัทเดินรถเอกชนบริการรถประจำทางไป-กลับ ระหว่างกรุงเทพฯ-ลำปาง ได้แก่ บริษัท วิริยะทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๒๗ สาขาลำปาง โทร. ๐ ๕๔๒๑ ๗๓๗๓, บริษัท นิววิริยะทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๒๐๕-๖ ลำปาง โทร. ๐ ๕๔๒๒ ๕๘๙๙, บริษัท สมบัติทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๔๙๕-๙, บริษัท อินทราทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๔๙๒-๓, บริษัท ทันจิตต์ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๓๒๑๓-๔, บริษัท สยามเฟริส์ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๑๑๒๐ บริษัท พรพิริยะทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๙๓๙, ๐ ๒๙๓๖ ๓๕๕๔ สาขาลำปาง โทร. ๐ ๕๔๒๒ ๘๗๐๖, ๐ ๕๔๒๑ ๘๑๙๙ จากสถานีขนส่งลำปาง ถนนพหลโยธินมีรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศไปยังจังหวัดเชียงราย แพร่ น่าน พิษณุโลก นครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีรถจากเชียงใหม่วิ่งผ่านลำปาง ไปยังทุกจังหวัดในภาคเหนือและบางจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี นครราชสีมา เป็นต้น ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีขนส่งลำปาง โทร. ๐ ๕๔๒๒ ๗๔๑๐ รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย บริการรถด่วน รถเร็วและรถธรรมดา จากกรุงเทพฯไปลำปางทุกวัน ติดต่อลายระเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๑๖๙๐, ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔, ๐ ๒๒๒๐ ๔๔๔๔ และสถานีรถไฟลำปาง โทร. ๐ ๕๔๒๑ ๗๐๒๔ หรือ HYPERLINK "https://www.www.railway" www.railway.co.th เครื่องบิน บริษัท พีบีแอร์ มีเที่ยวบินทุกวัน สำรองที่นั่งโทร. ๐ ๒๒๖๑ ๐๒๒๐-๕ พีบีแอร์ ลำปาง โทร. ๐ ๕๔๒๒ ๖๒๓๘, ๐ ๕๔๓๕ ๑๑๐๒ หรือ HYPERLINK "https://www.www.pbair.com" www.pbair.com และท่าอากาศยานลำปาง โทร. ๐ ๕๔๒๒ ๖๒๕๘ |