เวลา16นาฬิกาควรพูดว่าบ่าย4

ตารางเทียบเวลาไทย กี่โมง กี่ทุ่ม บ่ายกี่โมง

เวลา 01 นาฬิกา : ควรพูดว่า ตี1

เวลา 02 นาฬิกา : ควรพูดว่า ตี2

เวลา 03 นาฬิกา : ควรพูดว่า ตี3

เวลา 04 นาฬิกา : ควรพูดว่า ตี4

เวลา 05 นาฬิกา : ควรพูดว่า ตี5

เวลา 06 นาฬิกา : ควรพูดว่า ย่ำรุ่ง/รุ่งเช้า

เวลา 07 นาฬิกา : ควรพูดว่า 1โมง

เวลา 08 นาฬิกา : ควรพูดว่า 2โมง

เวลา 9 นาฬิกา : ควรพูดว่า 3โมง

เวลา 10 นาฬิกา : ควรพูดว่า 4โมง

เวลา 11 นาฬิกา : ควรพูดว่า 5โมง

เวลา 12 นาฬิกา : ควรพูดว่า เที่ยงวัน

เวลา 13 นาฬิกา : ควรพูดว่า บ่ายโมง

เวลา 14 นาฬิกา : ควรพูดว่า บ่าย2

เวลา 15 นาฬิกา : ควรพูดว่า บ่าย3

เวลา 16 นาฬิกา : ควรพูดว่า บ่าย4

เวลา 17 นาฬิกา : ควรพูดว่า บ่าย5

เวลา 18 นาฬิกา : ควรพูดว่า ย่ำค่ำ/พลบค่ำ

เวลา 19 นาฬิกา : ควรพูดว่า 1ทุ่ม

เวลา 20 นาฬิกา : ควรพูดว่า 2ทุ่ม

เวลา 21 นาฬิกา : ควรพูดว่า 3ทุ่ม

เวลา 22 นาฬิกา : ควรพูดว่า 4ทุ่ม

เวลา 23 นาฬิกา : ควรพูดว่า 5ทุ่ม

เวลา 24 นาฬิกา : ควรพูดว่า เที่ยงคืน





ตารางเทียบเวลาไทย กี่โมง กี่ทุ่ม บ่ายกี่โมง

คำว่า "โมง" และ "ทุ่ม" มีที่มาของการบอกเวลาในสมัยโบราณตามนี้

"โมง" จะใช้สำหรับช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงก่อนเที่ยงวัน โดยพระหรือเณรจะทำหน้าที่ ไปตีฆ้อง บอกเวลาทุกชั่วโมง เช่นเวลา 8:00 จะตีฆ้อง2ครั้ง เสียงดังโม้งๆ ก็คือ 2โมง นั่นเอง

"ทุ่ม" จะใช้สำหรับช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตกจนถึงก่อนเที่ยงคืน โดยจะมีการตีกลอง บอกเวลาทุกชั่วโมง เช่น เวลา 20:00 ก็จะตีกลอง 2ครั้ง เสียงดังตุ้มๆ หรือ 2ทุ่ม นั่นเอง

"ตี" ใช้สำหรับช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนจนถึงก่อนพระอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันถัดไป โดยจะมีการตีระฆังหรือกระบอกไม้ ให้มีเสียงดังทุกชั่วโมง เวลา 02:00 ก็จะตี2ครั้ง หรือ ตี2 นั่นเอง

ตารางเทียบเวลาไทย กี่โมง กี่ทุ่ม บ่ายกี่โมง

ในวัฒนธรรมไทยโบราณ การแบ่งช่วงเวลาในแต่ละวันมีการใช้คำเรียกเฉพาะที่แตกต่างจากการแบ่งเวลาในปัจจุบัน

คำที่ใช้เรียกช่วงเวลา 06:00 น. (6 โมงเช้า) ในภาษาไทยโบราณคือ "ย่ำรุ่ง" หรือ "รุ่งเช้า"

ย่ำรุ่ง: คำนี้ใช้เรียกเวลาช่วงเช้าตรู่ โดยเฉพาะเวลาที่พระอาทิตย์กำลังขึ้นหรือใกล้จะขึ้น
รุ่งเช้า: ใช้เรียกเวลาช่วงเช้าตรู่เช่นกัน โดยเฉพาะเวลาหลังพระอาทิตย์ขึ้นไม่นาน
ทั้งสองคำนี้ใช้สื่อถึงช่วงเวลาที่เป็นตอนเช้าตรู่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เริ่มต้นของวันใหม่

เวลา 18:00 น. (6 โมงเย็น) จะเรียกว่า "ย่ำค่ำ" หรือ "พลบค่ำ"

ย่ำค่ำ: คำนี้หมายถึงช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตกดินหรือเวลาที่เริ่มค่ำแล้ว เป็นช่วงเวลาที่แสงสว่างจากดวงอาทิตย์เริ่มหมดไปและความมืดเริ่มเข้ามาแทนที่
พลบค่ำ: คำนี้หมายถึงช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตกดินและท้องฟ้าเริ่มมืด เป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนจากกลางวันเป็นกลางคืน
ทั้งสองคำนี้ใช้สื่อถึงช่วงเวลาที่เป็นตอนเย็นหรือค่ำ ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่พระอาทิตย์ตกดินแล้ว






ตารางเทียบเวลาไทย กี่โมง กี่ทุ่ม บ่ายกี่โมง Free post โพสต์ฟรี ✏️ สวัสดี Zoey








Upload image เลือกรูปภาพ



📝 Say Hi โพสต์ฟรี ⭐️ ทำนายฝัน 📆 เลขเด็ด 🔆 ดวงไพ่ยิปซี 🔆 ดวงไพ่ป๊อก21ใบ 💫 ตารางเวลาไทย 🚘 ทะเบียนรถมงคล 📱 เบอร์โทรมงคล 👤 ชื่อมงคล 📍 แผนที่ 📍 รหัสไปรษณีย์ 💫 ราคาทอง 💬 แคปชั่นคำคม ⭐️ ข้อสอบ 🌙 ตารางปี 💬 แปลภาษา ☀️ QRCODE 🔆 ดวงเนื้อคู่ 🔆 กราฟชีวิต 🗳 ฝากรูปฟรี 🎮 แจกโปร สุ่มรหัส 🖥 สปอยหนัง ซีรีย์ ▶️ ช่องยูทูป 🔆 เซียมซี 🔆 ดวงช้างผัวเมีย 🔆 ดวงสมพงษ์นาคคู่ 🔆 ดวงชะตาพรหมชาติ ⚓️ ดวงฉัตร3ชั้น 🔆 ดวงเรือนชะตา ✏️ สลับภาษา


-- ตารางเทียบเวลาไทย กี่โมง กี่ทุ่ม บ่ายกี่โมง --


Copyright 2024 | 17 ปี แฟลชมินิดอทคอม since 2007 | เกี่ยวกับเรา

Contacts email : [email protected]

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้หรือเทคโนโลยีที่คล้ายกันเก็บข้อมูลเพื่อปรับปรุงประสบการณ์การท่องเว็บของคุณ ในการใช้เว็บไซต์ของเราต่อไป แสดงว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัวและเงื่อนไขการใช้งานของเรา