เปิดโลกอาเซียน เรานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประเทศในอาเซียน ทุกเรื่องราว ทุกแง่มุม ที่คนไทยควรรู้


อาหารและขนมประเทศไทย

ต้มยำ
ต้มยำ ไทย

แกงเขียวหวาน
แกงเขียวหวาน ไทย

ผัดกระเพรา
ผัดกระเพรา ไทย

ก๋วยเตี๋ยว
ก๋วยเตี๋ยว ไทย

ขนมครก
ขนมครก ไทย

ลอดช่อง
ลอดช่อง ไทย



อาหารและขนมประเทศกัมพูชา

อะหมก (ห่อหมก)
อะหมก (ห่อหมก) กัมพูชา

ปลาหก (ปลาสับปรุงรส)
ปลาหก (ปลาสับปรุงรส) กัมพูชา

หมี่โคลา (ขนมจีน)
หมี่โคลา (ขนมจีน) กัมพูชา

ก๋วยเตียบ (ก๋วยเตี๋ยว)
ก๋วยเตียบ (ก๋วยเตี๋ยว) กัมพูชา

ค้อ (พะโล้)
ค้อ (พะโล้) กัมพูชา

ชาขิงเย (ไก่ผัดขิง)
ชาขิงเย (ไก่ผัดขิง) กัมพูชา



อาหารและขนมประเทศลาว

ตำมะหุ่ง(ส้มตำ
ตำมะหุ่ง(ส้มตำ ลาว

ข้าวปุ้น (ขนมจีน)
ข้าวปุ้น (ขนมจีน) ลาว

ข้าวจี่ (ขนมปังแซนด์วิช)
ข้าวจี่ (ขนมปังแซนด์วิช) ลาว

ไคร่แผ่น (สาหร่ายตะไคร่น้ำทอดกรอบ)
ไคร่แผ่น (สาหร่ายตะไคร่น้ำทอดกรอบ) ลาว

ลาบ
ลาบ ลาว

อ่อม
อ่อม ลาว



อาหารและขนมประเทศพม่า

ลาเผ็ด (ข้าวยำ)
ลาเผ็ด (ข้าวยำ) พม่า

ก๋วยเตี๋ยวไทใหญ่
ก๋วยเตี๋ยวไทใหญ่ พม่า

โมฮิงงะ (ก๋วยเตียว)
โมฮิงงะ (ก๋วยเตียว) พม่า

ชิวยินแอ (สาคูกระทิ)
ชิวยินแอ (สาคูกระทิ) พม่า

มอน (กล้วยบวดชี)
มอน (กล้วยบวดชี) พม่า

แกงส้ม
แกงส้ม พม่า



อาหารและขนมประเทศอินโดนีเซีย

เนื้อสะเต๊ะ
เนื้อสะเต๊ะ อินโดนีเซีย

บักโซ (ก๋วยเตี๋ยว)
บักโซ (ก๋วยเตี๋ยว) อินโดนีเซีย

นาซีโกเรง (ข้าวผัด)
นาซีโกเรง (ข้าวผัด) อินโดนีเซีย

กาโดกาโด (ยำรวมมิตร)
กาโดกาโด (ยำรวมมิตร) อินโดนีเซีย

นาซีอุดัก (ข้าวหน้ากระทิไก่ทอด)
นาซีอุดัก (ข้าวหน้ากระทิไก่ทอด) อินโดนีเซีย

กูเด็ก (ต้มขนุน)
กูเด็ก (ต้มขนุน) อินโดนีเซีย



อาหารและขนมประเทศมาเลเซีย

หมี่โกเร็งมามัก (ผัดหมี่)
หมี่โกเร็งมามัก (ผัดหมี่) มาเลเซีย

นาซีเกระบู (ข้าวหน้าปลาทรงเครื่อง )
นาซีเกระบู (ข้าวหน้าปลาทรงเครื่อง ) มาเลเซีย

นาซีเลมัก (ข้าวหน้าเนื้อ)
นาซีเลมัก (ข้าวหน้าเนื้อ) มาเลเซีย

โรตีจอน (ขนมปังทรงเครื่อง)
โรตีจอน (ขนมปังทรงเครื่อง) มาเลเซีย

คุย (ขนมชั้น)
คุย (ขนมชั้น) มาเลเซีย

อะพัมบาลิก (ขนมถังแตก)
อะพัมบาลิก (ขนมถังแตก) มาเลเซีย



อาหารและขนมประเทศฟิลิปปินส์

อะโดโบ (ไก่ทรงเครื่อง)
อะโดโบ (ไก่ทรงเครื่อง) ฟิลิปปินส์

ซีซิก (หมูสับปรุงรส)
ซีซิก (หมูสับปรุงรส) ฟิลิปปินส์

บูลาโล (ต้มผักรวมมิตร)
บูลาโล (ต้มผักรวมมิตร) ฟิลิปปินส์

คาเระคาเระ (ซุปหางวัว)
คาเระคาเระ (ซุปหางวัว) ฟิลิปปินส์

คูฮนซากาทา (แกงหอย)
คูฮนซากาทา (แกงหอย) ฟิลิปปินส์

บีบิงคา (เค้กมะพร้าว)
บีบิงคา (เค้กมะพร้าว) ฟิลิปปินส์



อาหารและขนมประเทศสิงคโปร์

ข้าวมันไก่
ข้าวมันไก่ สิงคโปร์

ชากวยเตียว (ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ้ว)
ชากวยเตียว (ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ้ว) สิงคโปร์

วันตันหมี่ (บะหมี่เกี๊ยว)
วันตันหมี่ (บะหมี่เกี๊ยว) สิงคโปร์

บักคุดเต (หมูตุ๋นใบชา)
บักคุดเต  (หมูตุ๋นใบชา) สิงคโปร์

แซมบัลสติงเก (ปลาอบน้ำพริก)
แซมบัลสติงเก (ปลาอบน้ำพริก) สิงคโปร์

กวยชับ (ก๋วยจั๊บ)
กวยชับ (ก๋วยจั๊บ) สิงคโปร์



อาหารและขนมประเทศเวียดนาม

เฝอ (ก๋วยเตี๋ยว)
เฝอ (ก๋วยเตี๋ยว) เวียดนาม

ชาชา (ปลาผัดขิง)
ชาชา (ปลาผัดขิง) เวียดนาม

บันเซียว (ขนมเบื้องไข่)
บันเซียว (ขนมเบื้องไข่) เวียดนาม

เชาเลา (ก๋วยเตี๊ยวหมู)
เชาเลา (ก๋วยเตี๊ยวหมู) เวียดนาม

เนมเนือง (แหนมเนือง)
เนมเนือง (แหนมเนือง) เวียดนาม

นมหัวชวย (ยำหัวปลี)
นมหัวชวย (ยำหัวปลี) เวียดนาม



อาหารและขนมประเทศบรูไน

เบเรียนี่ (ข้าวผัด)
เบเรียนี่ (ข้าวผัด) บรูไน

ซัมบัล บาจัก (น้ำพริกผัด)
ซัมบัล บาจัก (น้ำพริกผัด) บรูไน

ซัมบัล เทอรง (มะเขือผัดน้ำพริก)
ซัมบัล เทอรง (มะเขือผัดน้ำพริก) บรูไน

พอนดอกซาริวัง (ข้าวหน้าไก่ย่าง)
พอนดอกซาริวัง (ข้าวหน้าไก่ย่าง) บรูไน

กูบาฮุลู (ขนมไข่)
กูบาฮุลู (ขนมไข่) บรูไน

บิสกัท มอ (ขนม)
บิสกัท มอ (ขนม) บรูไน


แผนที่ เมืองหลวง พื้นที่ประเทศ จำนวนประชากร ระบบการปกครอง ภาษา เชื้อชาติ ศาสนา ตราสัญลักษณ์ อาหาร สกุลเงิน ประวัติศาสตร์ เงินเดือน ค่าแรงขั้นต่ำ ทักษะภาษาอังกฤษ ชุดแต่งกาย นักเรียนนักศึกษา แหล่งท่องเที่ยว เทศกาล งานประเพณี คำทักทาย คำบอกรัก การนับเลข















ประวัติประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน


จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ต.ค. 2546 ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย3 เสาหลัก คือ
1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC) 2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar) 3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)

คำขวัญของอาเซียน คือ " One Vision, One Identity, One Community." หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม


เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 และก้าวสำคัญต่อมาคือการจัดทำปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดำเนินการเข้าสู่เป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2558
ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม 10 ประเทศได้แก่ ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน
สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้า
ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน+6 จะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดียต่อไป


วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน

ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้


1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

ประชาคมอาเซียนคืออะไร

ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง


ประวัติสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)


โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย

หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอวเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่
-บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
-สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
-ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542





2024 World of flash-mini.com : About us

The content on this page is generated and generated by social media content automatically. If you encounter a problem or want to delete the information Please inform at this email >> [email protected]

This website uses cookies or similar technologies, to enhance your browsing experience and provide personalized recommendations. By continuing to use our website, you agree to our Privacy Policy & Terms

We relies on APIs,All logos and trademarks displayed on this application are property of their. None of the content is hosted on our servers, only on theier servers and all rights owned by their respective owners.



Contacts Office Address: 125/8 Sukhumvit Road, Phra Khanong Subdistrict, Bang Na District, Bangkok 10120 | Contacts Telephone : 082 6918082 | Contacts email : [email protected]